ราคากลาง ราคาต่อตารางเมตร รีโนเวทราคาประหยัด ถูก มีวิธีคำนวณใด ต่อเติมปรับปรุงซ่อมแซม บ้านไม้ บ้านเก่า ชั้นเดียว 2ชั้น งบไม่กี่แสน อ่านได้ที่นี่ฟรี ไม่ต้องถาม pantip
สำหรับใครที่กำลังตั้งใจจะรีโนเวทบ้านนั้น สิ่งที่หลายๆ คนเป็นกังวลที่สุดนั้นก็คือค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่สามารถคำนวณได้เหมือนการซื้อบ้านที่มีราคาระบุไว้อย่างชัดเจน
โดยบทความนี้ UREBUILD(ยูรีบิ้ว) จะมาแนะนำวิธีคำนวณราคาสำหรับการรีโนเวทบ้านว่าสามารถทำได้อย่างไร มีค่าใช้จ่ายในส่วนใดบ้าง เพื่อให้คุณสามารถมองเห็น และกำหนดงบประมาณคร่าวๆ ด้วยตัวเองได้
รีโนเวท บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ ตึกแถว กับ UREBUILD
- ออกแบบ NewDesign จากไลฟ์สไตล์ของคุณ สร้างบ้าน รีโนเวทบ้าน ตกแต่งภายใน บริการครบวงจร ดูแลหลังสร้างเสร็จ
- ควบคุมงานโดยสถาปนิก-วิศวกรมืออาชีพ ออกแบบตามความต้องการของลูกค้า
- ทีมงานคุณภาพมากประสบการณ์ รับออกแบบ-สร้างบ้าน ดีไซน์เฉพาะคุณ
- พร้อมดีไซเนอร์ส่วนตัวให้คำปรึกษาตัวต่อตัว เหมาะกับทุกสไตล์ ห้องนอน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น
บริการของ UREBUILD >> รับรีโนเวท หาช่างรีโนเวท
สารบัญ
- รีโนเวทราคาประหยัด ของบ้านคำนวณราคายังไง
- ข้อควรคำนึงก่อนตัดสินใจรีโนเวท
- รีโนเวทบ้านเก่า VS สร้างบ้านใหม่
- เคล็ดลับเตรียมพร้อม รีโนเวทราคาประหยัด อย่างชาญฉลาด
- สรุป
รีโนเวทราคาประหยัด ของบ้านคำนวณราคายังไง
ราคาของการรีโนเวทบ้านนั้น ต้องบอกก่อนว่าจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน นั่นก็คือ
- ค่าใช้จ่ายที่สามารถประเมินด้วยตัวเองได้
- ค่าใช้จ่ายที่ประเมินด้วยตัวเองไม่ได้ ต้องใช้การสอบถามจากผู้รับเหมา วิศวกร หรือสถาปนิก
แต่การที่จะทราบได้ว่าต้องคำนวณราคาอย่างไรนั้น เราต้องทราบก่อนว่าในการรีโนเวทบ้านนั้นมีค่าใช้จ่ายในส่วนใดบ้าง
รีโนเวทบ้านมีค่าใช้จ่ายในส่วนใดบ้าง
เรามาดูกันว่า ในการรีโนเวทบ้านนั้นมีค่าใช้จ่ายในจุดใด และสามารถทำการคำนวณราคาได้อย่างไรบ้าง
ค่าออกแบบโดยสถาปนิก
ค่าใช้จ่ายอันดับแรกก่อนที่จะเริ่มรีโนเวทบ้านนั้นก็คือ แบบแปลนบ้านที่ออกแบบโดยสถาปนิกนั่นเอง ซึ่งราคานั้นจะคำนวณได้จากพื้นที่ และขนาดของบ้านเป็นหลัก แต่จะมีค่าสำรวจหน้างานที่สถาปนิกจะเข้ามาตรวจสอบรอบตัวบ้านเพื่อนำไปใช้อ้างอิงเพิ่มเติม
โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้น สามารถคำนวณได้คร่าวๆ ดังนี้
- ค่าสำรวจหน้างาน ตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป
- ค่าออกแบบเริ่มต้นตั้งแต่ 900 บาทต่อตารางเมตร
ซึ่งราคาอาจมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับสถาปนิกแต่ละราย โดยในขั้นตอนนี้สถาปนิกจะทำการสอบถามงบประมาณคร่าวๆ ของคุณเพื่อใช้อ้างอิงในการออกแบบ จึงมั่นใจได้ว่าการรีโนเวทบ้านครั้งนี้จะเป็นไปตามงบที่วางไว้อย่างแน่นอน
หมายเหตุ : สถาปนิกบางรายอาจมีบริการผู้รับเหมาก่อสร้าง และวิศวกรไปด้วยในตัวแบบครบวงจร ซึ่งจะทำให้สามารถระบุงบประมาณที่ตายตัวได้ง่ายดายมากยิ่งขึ้น
ค่าผู้รับเหมา / ค่าช่าง
เมื่อได้รับดีไซน์จากสถาปนิกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนถัดไปก็คือการนำแบบแปลนไปคุยรายละเอียดและประเมินราคากับผู้รับเหมา
โดยราคานั้นอาจเพิ่มขึ้น หรือลดลงจากการประเมินของสถาปนิกสักเล็กน้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับค่าบริการของผู้รับเหมาแต่ละเจ้า
ที่สำคัญ ในระหว่างการเจรจาตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายนั้น แนะนำว่าให้ผู้รับเหมาทำรายการประมาณการค่าก่อสร้าง แจกแจงรายละเอียดวัสดุต่างๆ ให้เรียบร้อย อย่าตกลงราคาเป็นตัวเลขกลมๆ เด็ดขาด ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาด้านวัสดุที่ใช้ก่อสร้างในอนาคต
ข้อแนะนำ : ในการจ่ายเงินค่าจ้างให้กับผู้รับเหมานั้น ไม่ควรจ่ายทั้งหมดในคราวเดียว แต่ควรจ่ายเป็นงวดๆ ไปตามขั้นตอนการก่อสร้าง เพื่อป้องกันกรณีที่ผู้รับเหมาทำงานได้ไม่ถูกใจ หรืองานล่าช้า จะทำให้คุณสามารถเลือกเปลี่ยนไปใช้บริการของผู้รับเหมารายอื่นๆ ได้
ค่าเช่าที่อยู่อาศัย (กรณีไม่มีที่อยู่สำรอง)
อย่าลืมว่าระหว่างขั้นตอนรีโนเวทบ้านนั้น หากต้องทำการปรับปรุงบ้านทั้งหลัง คุณย่อมอยู่ภายในบ้านไม่ได้แน่นอน เพราะนอกจากจะเป็นการรบกวนการก่อสร้างแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องของฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง และกลิ่นของสีที่ยังไม่แห้งอีกด้วย
ดังนั้น ถ้าหากคุณไม่มีที่อยู่สำรอง ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องเตรียมอีกส่วนหนึ่งก็คือค่าเช่าที่อยู่อาศัยในระหว่างที่ทำการรีโนเวทนั่นเอง ซึ่งสามารถคำนวณได้ง่ายมาก เพียงแค่สอบถามระยะเวลาการก่อสร้างจากผู้รับเหมา แล้วนำมาคูณกับค่าเช่ารายเดือนเท่านั้น
ข้อควรคำนึงก่อนตัดสินใจรีโนเวท
ก่อนที่จะเริ่มตัดสินใจรีโนเวทบ้านนั้น UREBUILD(ยูรีบิ้ว) มีข้อแนะนำให้คุณคำนึงก่อนตัดสินใจ ดังนี้
จ้างนักออกแบบและผู้รับเหมาที่เป็นมืออาชีพไว้ใจได้
หากเลือกเพราะเห็นแก่ราคาถูก หากถูกโกงวัสดุ หรือทิ้งงานกลางคันขึ้นมาจะกลายเป็นว่าได้ไม่คุ้มเสีย
วางแผนจัดเก็บข้าวของในบ้านให้ดี
เพราะขณะที่กำลังก่อสร้างนั้น ภายในบ้านจะเต็มไปด้วยฝุ่นละออง และสีที่ยังไม่แห้ง ซึ่งอาจทำให้เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขนออกมาไม่ได้เกิดความสกปรก จึงควรหาผ้า หรือผ้าใบพลาสติกมาปิดทับไว้ และทำการแจ้งผู้รับเหมาให้เรียบร้อย
ใส่ใจด้านความปลอดภัย
เพราะขณะที่ทำการรีโนเวทบ้านนั้น ในช่วงกลางคืนจะไม่มีใครอยู่ในบ้าน ซึ่งอาจเป็นช่องว่างทำให้มีโจรแอบลักลอบเข้าไปขโมยของมีค่าได้ แนะนำให้ทำการตรวจสอบและล็อกกุญแจโดยรอบบ้านให้ละเอียดด้วยตัวเองเป็นประจำทุกวัน
อย่าลืมแจ้งเพื่อนบ้าน
ในขั้นตอนรีโนเวทบ้านนั้นอาจมีเสียงดังรบกวน แนะนำให้ทำการแจ้งเพื่อนบ้านเอาไว้เพื่อเป็นมารยาทในการอยู่ร่วมกับสังคมที่ดี
รีโนเวทบ้านเก่า VS สร้างบ้านใหม่
บ้านเมื่ออยู่ไปนาน ๆ ย่อมเกิดการชำรุดเสียหายและมีสภาพทรุดโทรมไปตามวันเวลา หลายคนจึงมีแนวคิดที่จะวางแผนในการปรับปรุงบ้าน เพื่อให้บ้านกลับมาสวยงามดังเดิม แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ความปลอดภัยในการอยู่อาศัย หรือบางครอบครัวที่มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น อาจต้องการขยายและปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วน เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของสมาชิกทุกคนภายในบ้าน
แล้วควรจะเลือกปรับปรุงบ้านแบบไหนดี ? ระหว่าง รีโนเวทบ้านเก่า กับ สร้างบ้านใหม่ ซึ่งทั้งสองตัวเลือกนี้มีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่เจ้าของบ้านต้องคิดและตัดสินใจ ทั้งในเรื่องงบประมาณในการก่อสร้าง วัตถุประสงค์ในการปรับปรุงบ้าน หรือบางเรื่องที่จำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ อย่างการสำรวจโครงสร้างบ้าน UREBUILD(ยูรีบิ้ว) จึงนำข้อมูลดี ๆ มาฝากทุกคน เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจว่าควรเลือกปรับปรุงบ้านแบบไหนให้คุ้มค่าที่สุด
สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจสร้างบ้านใหม่และรีโนเวทบ้านเก่า
สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจสร้างบ้านใหม่และรีโนเวทบ้าน มีดังนี้
1. วัตถุประสงค์ในการปรับปรุงบ้าน
สิ่งสำคัญข้อแรกที่เจ้าของบ้านต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า ต้องการปรับปรุงบ้านไปเพื่ออะไรเช่น ปรับปรุงพื้นที่บางส่วนเพื่อทำธุรกิจ ดังนั้นการเลือกรีโนเวทบ้านเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว เนื่องจากเป็นการปรับปรุงพื้นที่แค่บางส่วนของบ้าน หรือเป็นการต่อเติมพื้นที่เพิ่มเติม ไม่จำเป็นต้องสร้างบ้านใหม่ทั้งหลัง
แต่ถ้าหากต้องการใช้เพื่ออยู่อาศัยเอง จำเป็นที่จะต้องคิดถึงอนาคตในระยะยาว เช่น จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่เพิ่มขึ้น หรือหากแก่ตัวลงจำเป็นต้องเพิ่มความสะดวกในการสัญจรภายในบ้านหรือไม่ เช่น การขยายพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน หรือเพิ่มทางลาดเพื่อรองรับการใช้งานรถวีลแชร์ ซึ่งอาจจะต้องรื้อถอนบ้านหลังเก่าและสร้างใหม่ เพื่อให้ตอบโจทย์การอยู่อาศัยมากขึ้น
2. สำรวจภาพรวมของบ้าน
ควรสำรวจสภาพโดยรวมของบ้านในปัจจุบัน อย่างเช่น บ้านที่สร้างและอยู่อาศัยไม่ถึง 10 ปี โครงสร้างยังอยู่ในสภาพดี การรีโนเวทก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีและประหยัด แต่หากเป็นบ้านที่มีอายุการใช้งานนานเกิน 10 ปี ขึ้นไป และพบว่า โครงสร้างบ้าน หลังคา ผนัง มีรอยแตกร้าวและชำรุดเสียหายมาก การเลือกสร้างบ้านใหม่ อาจจะคุ้มค่ากว่าการรีโนเวทแล้วต้องเจอปัญหาบ้านชำรุดและต้องซ่อมแซมบ่อย ๆ
อย่างไรก็ตาม การสำรวจสภาพบ้านควรติดต่อวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาทำการประเมินโครงสร้างบ้าน เพื่อความปลอดภัยก่อนทำการก่อสร้าง
3. สำรวจที่ดินหรือพื้นที่ว่างบริเวณบ้าน
ควรมีการสำรวจที่ดินหรือพื้นที่ว่างบริเวณบ้าน ว่ามีพื้นที่เพียงพอสำหรับงานก่อสร้างหรือรีโนเวทบ้านใหม่หรือไม่ หากพื้นที่บริเวณบ้านคับแคบ จนไม่สามารถรองรับงานก่อสร้างได้ การเลือกวิธีรีโนเวทถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสม
แต่อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงสภาพโครงสร้างบ้านด้วย หากโครงสร้างบ้านเก่า ชำรุดเสียหายมาก การทุบทิ้งและสร้างใหม่ย่อมคุ้มค่ากว่า ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจ
4. งบประมาณและค่าใช้จ่าย
สิ่งที่ควรวางแผนอย่างละเอียดคือ เรื่องงบประมาณ เพราะต้องคำนึงค่าใช้จ่ายหลาย ๆ อย่าง เช่น ค่าที่พักอาศัยชั่วคราวระหว่างการสร้างบ้านใหม่ ค่าสถาปัตยกรรม ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าตกแต่งภายใน-ภายนอก ซึ่งงบประมาณระหว่างการสร้างบ้านใหม่และ
รีโนเวทบ้านนั้นมีข้อแตกต่างกันดังนี้
ค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้านใหม่ ได้แก่
- ค่ารื้อถอน
- ค่าสถาปัตยกรรม
- ค่าโครงสร้างบ้าน
- ค่าวัสดุอุปกรณ์
- ค่าตกแต่ง
- ระบบสาธารณูปโภค ( ทั้งหมด )
- ค่าที่พักอาศัยชั่วคราว ( กรณีไม่มีที่พักสำรอง )
ค่าใช้จ่ายในการรีโนเวทบ้าน ได้แก่
- ค่าสถาปัตยกรรม
- ค่าวัสดุอุปกรณ์
- ค่าตกแต่ง
- ค่าโครงสร้างบ้านและระบบสาธารณูปโภคเฉพาะส่วนที่รีโนเวทใหม่
5. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ก่อนที่จะเลือกสร้างบ้านใหม่หรือรีโนเวทบ้านดีนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมืออาชีพและมีประสบการณ์มากพอ เพื่อประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างบ้าน รูปแบบบ้านที่ต้องการ รวมถึงสามารถประมาณค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างคร่าว ๆ ได้ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าความคุ้มค่าในการก่อสร้างนั้นก็คือ ความปลอดภัย นั่นเอง
ข้อดี-ข้อเสียระหว่างการรีโนเวทบ้านเก่ากับการสร้างบ้านใหม่
รีโนเวทบ้านเก่า
ข้อดี
ประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ระยะเวลาน้อยกว่าการสร้างบ้านใหม่ เพราะขั้นตอนน้อยกว่า เหมาะกับการปรับปรุงบ้านที่อยู่อาศัยไม่เกิน 10 ปี และโครงสร้างบ้านยังอยู่ในสภาพดี
ข้อเสีย
คือ โครงสร้างบ้านส่วนที่ไม่ได้รีโนเวทยังเป็นโครงสร้างเดิม อาจมีปัญหาระบบโครงสร้างภายในที่เกิดการชำรุด เช่น เหล็กเส้นในเกิดสนิม เสาคานปริแตก อาจเกิดปัญหาบ้านชำรุดตามมาทีหลังการีโนเวท หากไม่ได้รับการซ่อมแซมแก้ไขโครงสร้างภายในให้แข็งแรงเสียก่อน
สร้างบ้านใหม่
ข้อดี
ได้บ้านหลังใหม่ที่สวยถูกใจคุณภาพดี เหมาะกับบ้านที่มีอายุการใช้งานมายาวนานเกิน 10 ปีขึ้นไป เนื่องจากโครงสร้างบ้านเก่าอาจเกิดการชำรุดเสียหายไปตามการใช้งาน การเลือกสร้างบ้านใหม่จึงถือเป็นการลงทุนระยะยาวที่คุ้มค่ากว่ารีโนเวท
ข้อเสีย
คือ มีราคาสูงกว่าการรีโนเวท และขั้นตอนเยอะกว่าจึงใช้เวลาในการก่อสร้างนานกว่า
เคล็ดลับเตรียมพร้อม รีโนเวทราคาประหยัด อย่างชาญฉลาด
บ้าน คือพื้นที่แห่งความสุข เต็มไปด้วยความผูกพันและความทรงจำ ที่ถูกหล่อหลอมเพิ่มขึ้นสวนทางกับสภาพบ้านที่เสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา การเลือกรีโนเวทบ้าน แทนการสร้างบ้านหลังใหม่ขึ้นมาทั้งหลังจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่เจ้าของบ้านหลายคนเลือก เพื่อคงกลิ่นอายของพื้นที่แห่งความสุขไว้ในบรรยากาศใหม่
เพื่อให้การรีโนเวทบ้านเป็นไปอย่างราบรื่น ได้บ้านที่ตรงตามความต้องการ ตอบสนองการอยู่อาศัยในระยะยาว เจ้าของบ้านควรเตรียมพร้อมในด้านต่างๆ ดังนี้
1. สำรวจความต้องการในการรีโนเวท
การรีโนเวทบ้านแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายไม่น้อย ขึ้นอยู่กับขนาดงานและการใส่ฟังก์ชันรองรับการใช้งาน ดังนั้นเจ้าของบ้านควรสำรวจความต้องการในการรีโนเวทว่าเป็นไปเพื่อการซ่อมแซมจากความเสื่อมโทรม หรือเปลี่ยนสไตล์ ปรับฟังก์ชันการใช้งาน หรือเพื่อปรับปรุงขยับขยายต่อเติมพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานในขั้นตอนอื่นๆ เป็นไปได้ง่ายขึ้น และมีทิศทางที่ชัดเจนให้กับผู้ออกแบบ
2. เลือกผู้เชี่ยวชาญที่มีความเป็นมืออาชีพ
การปรับปรุงปรับบ้านอาจไม่ใช่การดำเนินการทุกอย่างใหม่หมดเหมือนสร้างบ้าน แต่ก็ถือว่ามีขึ้นตอนที่ซับซ้อนไม่ต่างจากการสร้างบ้านใหม่ หรือบางครั้งอาจซับซ้อนยิ่งกว่า
เพื่อให้ได้บ้านบรรยากาศใหม่ในพื้นที่เดิม เจ้าของบ้านจึงควรมีทีมผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยวางแผนการรีโนเวทอย่างมีมาตรฐาน ทั้งด้านของการออกแบบ การดำเนินการขออนุญาตซ่อมสร้าง การติดต่อประสานงานกับทีมช่าง ทีมทำงาน การเลือกใช้วัสดุ การวางแผนเรื่องงบประมาณ ตลอดจนการวางแผนขึ้นตอนดำเนินงาน และระยะเวลาแล้วเสร็จ
3. สำรวจพื้นที่ ตรวจสอบระบบ และจัดระเบียบบ้านก่อนรีโนเวท
หากเจ้าของบ้านมีทีมผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทรับสร้างบ้าน หรือทีมงานที่เป็นมืออาชีพ ช่วยในการสำรวจพื้นที่ก่อนออกแบบวางแผนรีโนเวท จะทำให้ขั้นตอนต่างๆ ง่ายขึ้น เพราะการสำรวจนั้นมีทั้งส่วนของพื้นที่นอกบ้าน โครงสร้างทั้งหมดของบ้าน พื้นที่ส่วนต่างๆ ของบ้าน การทรุด การร้าว รวมถึงระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบน้ำ ไฟ ทิศทางลม แดด และการระบาย
นอกจากนี้การรีโนเวทบ้าน ควรมีการจัดการเคลียร์ข้าวของเครื่องใช้ และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ โดยแยกส่วนของที่จะเก็บไว้ใช้งาน และส่วนที่ต้องการทิ้ง เพื่อง่ายต่อการเคลียร์พื้นที่ และทำให้บ้านดูโปร่งโล่งขึ้น
4. คำนึงถึงฟังก์ชันการใช้งานรองรับไลฟ์สไตล์ของสมาชิก
การรีโนเวทบ้านให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า ไม่ควรเป็นไปเพื่อปรับปรุงบ้านสภาพเก่าให้ใหม่และสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นบ้านที่มีฟังก์ชันครบครัน เอื้อต่อการใช้ประโยชน์และชีวิตตามไลฟ์สไตล์ของสมาชิกในครอบครัวตลอดการอยู่อาศัย
หากมีการวางแผนการออกแบบและรีโนเวทได้อย่างตอบโจทย์จะช่วยสร้างความสะดวกสบายให้กับสมาชิก สามารถใช้งานได้ในระยะยาว ลดปัญหาการต่อเติมแก้ไขในภายหลัง
5.จัดสรรงบประมาณอย่างรอบคอบ แบ่งจ่ายเป็นงวดๆ
การเลือกใช้บริการจากบริษัทรับสร้างบ้าน หรือทีมทำงานที่มีความเป็นมืออาชีพ จะช่วยลดปัญหาค่าใช้จ่ายยืดเยื้อบานปลายภายหลัง เพราะทีมงานมีการวางแผนทุกขั้นตอนการทำงาน เสมือนการสร้างบ้านใหม่
โดยระบุระยะเวลาการทำงานและค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน ทำให้เจ้าของบ้านไม่ต้องเสี่ยงต่อการจ่ายเพิ่มภายหลังหากราคาค่าวัสดุผันผวน และเจ้าของบ้านไม่ต้องจ่ายเงินก้อนทีเดียว เพราะบริษัทรับสร้างบ้านจะมีรายละเอียดการจ่ายเงินเป็นงวดๆ จึงไม่ต้องเสี่ยงกับการโดนเทงาน และสูญเงินเปล่า
6. เลือกแบบบ้านที่เหมาะกับงบและการใช้งาน
แบบบ้านที่ดีนอกจากจะสวยงามน่าพักอาศัย ใช้งบรีโนเวทไม่บานปลายแล้ว ควรมีส่วนประกอบต่างๆ ที่เมื่อสร้างออกมาแล้วมีมาตรฐานตามหลักวิศวกรรม รวมทั้งมีพื้นที่ใช้สอยแต่ละส่วนรองรับการอยู่อาศัย การทำกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกอย่างครบถ้วน
ดังนั้นหากเลือกใช้บริการจากบริษัทรับสร้างบ้านในการรีโนเวท จะทำให้มีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถออกแบบบ้านใหม่ในพื้นที่เดิม หรือพัฒนาจากแบบบ้านเดิมให้มีมาตรฐานเหมาะกับการใช้งาน และมีความปลอดภัยมากขึ้น
7. ศึกษากฎหมายการดัดแปลงอาคาร
แม้การเลือกใช้บริการจากบริษัทรับสร้างบ้านจะช่วยลดภาระเจ้าของบ้านในการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดทุกด้าน หรือการลงแรงในการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรีโนเวทบ้านทุกขั้นตอน แต่เจ้าของบ้านก็ควรศึกษาข้อมูลไว้อย่างรอบด้วนด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับอาคาร เพราะมีส่วนที่ควบคุมการต่อเติมดัดแปลงอาคารอยู่ เพื่อให้รู้ขอบเขตสิ่งที่จะสามารถทำได้และข้อจำกัดต่างๆ
8. เตรียมที่อยู่รองรับระหว่างรีโนเวท
การซ่อมแซมดัดแปลงบ้านใหม่นอกจากเจ้าของบ้านจะต้องจัดระเบียบเคลียร์ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ให้อยู่ถูกที่ถูกทาง ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของทีมช่างแล้ว สิ่งสำคัญคือควรหาที่พักสำรองไว้ชั่วคราว เพื่อความสะดวกในการทำงานของทีมรีโนเวท และความปลอดภัยของสมาชิกที่ไม่ต้องเสี่ยงอันตรายจากอุปกรร์ก่อสร้าง และเสี่ยงต่อเสียงดังๆ ที่รบกวนสุขภาพจิต ทั้งนี้เจ้าของบ้านควรรอจนกว่าการรีโนเวทจะเสร็จสมบูรณ์จึงย้ายเข้าอยู่
สรุป
การประเมินราคาการรีโนเวทนั้นใช้หลายตัวแปลเข้ามาประกอบการประเมิน ซึ่งทำให้ได้ราคาประเมินค่อนข้างยากหากไม่เห็นสถานที่จริง เพื่อตรวจสอบการชำรุดในส่วนต่างๆรวมถึงงานระบบไฟฟ้าและปะปาเมื่อมีตัวแปรมากมายที่เราไม่ทราบได้เยอะขนาดนี้ ขอยกตัวอย่างเคสการประเมินราคาเป็น 2 เคส
เคสที่ 1 อาคารสภาพสมบูรณ์ – อาคารไม่เสียหาย ไม่รั่วซึ่ม ไฟไม่รั่ว ท่อไม่ตัน
ในกรณีนี้เป็นกรณีเหมาะสำหรับคนที่ต้องการแปลงโฉมที่พักอาศัยเดิมให้ตอบรับกับการใช้งานมากขึ้นโดยสามารถประเมินราคา ได้สองแบบด้วยกัน
ประเมินราคาแบบหยาบ
การคิดราคาแบบหยาบนั้นสามารถทำได้ง่ายโดยนำ จำนวนพื้นที่ที่ต้องการรีโนเวท x 5000 จะได้ราคาค่าใช้จ่ายแบบหยาบมาซึ่งมีความคลาดเคลื่อนประมาณ 20%
ยกตัวอย่าง
รีโนเวทบ้านเดี่ยว 2 ชั้นขนาดพื้นที่ชั้นละ 50 ตร.ม. ค่าใช้จ่ายประมาณ = 50(2) x 5,000 = 500,000 บาท
ประเมินราคาแบบละเอียด
การประเมินราคาแบบละเอียดนั้นอาศัยความรู้ทางด้านการเลือกใช้วัสดุและการใช้งานซึ่งหน้าที่นี้จะเป็นของสถาปนิกที่ออกแบบพร้อมกำหนดการใช้วัสดุมาในแบบ ก็จะสามารถคำนวนราคาในส่วนนี้ได้ ซึ่งมีค่าความคลาดเคลื่อน 5-10%
เคสที่ 2 อาคารทิ้งร้าง – อาคารมีรอยร้าว หลังคารั่ว ไฟไม่ติด ท่อน้ำตัน
สำหรับกรณีนี้การประเมินราคาทำได้ค่อนข้างยากและความคลาดเคลื่อนค่อนข้างสูง หากไม่มีการตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงก่อน สำหรับค่าใช้จ่ายงานระบบนั้นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาติในการดำเนินการแก้ไข
ซึ่งส่วนใหญ่นั้นจะคิดราคาเป็นราคาเหมาขึ้นอยู่กับความยากง่ายและความซับซ้อนของระบบ ซึ่งบงบงนำค่าเฉลี่ยของราคาเหล่านี้มาเป็นสูตรคำนวณดังนี้
ประเมินราคาแบบหยาบ
การคิดราคาแบบหยาบนั้นสามารถทำได้ง่ายโดยนำ จำนวนพื้นที่ที่ต้องการรีโนเวท x 8000 จะได้ราคาค่าใช้จ่ายแบบหยาบมาซึ่งมีความคลาดเคลื่อนประมาณ 30%
ยกตัวอย่าง
รีโนเวทบ้านเดี่ยว 2 ชั้นขนาดพื้นที่ชั้นละ 50 ตร.ม. ค่าใช้จ่ายประมาณ = 50(2) x 8,000 = 800,000 บาท
ประเมินราคาแบบละเอียด
ในกรณีนี้สามารถประเมินอย่างละเอียดได้โดยการเข้าไปกรอกจำนวนพื้นที่ใช้สอยในโปรแกรมด้านล่าง
ค่าใช้จ่ายในการทำงานระบบไฟฟ้าและปะปาเฉลี่ยอยู่ที่ ตร.ม. 3,000 บาท
โดยสามารถเข้าไปประมาณราคาค่าใช้จ่ายได้ >กดที่นี่<
การรีโนเวทบ้านเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านในพื้นที่เดิมให้เจ้าของบ้านได้บรรยากาศการอยู่อาศัยใหม่ แต่ยังคงความทรงจำและกลิ่นอายแห่งความผูกพันนั้นไว้ ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกทีมทำงานเจ้าของบ้านจึงควรพิจารณาเลือกอย่างดีเสมือนการสร้างบ้านใหม่ เพื่อให้บ้านที่รีโนเวทมีมาตรฐานและเป็นบ้านแห่งความทรงจำที่ใช้ประโยชน์ได้อีกยาวนานในอนาคต