ออกแบบภายใน มีขั้นตอนอย่างไร ที่เจ้าของบ้านเดี่ยว ทาวน์โอม คอนโด ออฟฟิศ ควรรู้ ขั้นตอนสิ่งที่ต้องรู้ก่อน จาก บริษัทรับออกแบบตกแต่งภายในราคาถูก ทุกสไตล์
ออกแบบภายใน (Interior Design)
ออกแบบตกแต่งภายใน คือ การออกแบบตกแต่งภายในอาคารสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์ รวมไปถึงการศึกษาโครงสร้างอาคารเทคนิคการก่อสร้าง เนื้อที่และประโยชน์ใช้สอย เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ให้เกิดความสะดวกสบายในด้านประโยชน์ใช้สอยและความงามโดยอาศัยเหตุผลทางพฤติกรรมและข้อมูลต่างๆ ของมนุษย์เป็นหลัก
สถาปัตย์ : ออกแบบภายนอก+โครงสร้างรวมไปถึงการจัดสรรค์พื้นที่ใช้สอย(function)
อินทีเรีย : ออกแบบภายใน เน้นความสวยงามโดยนำเรื่องของโครงสร้างและfunctionมาเป็นองค์ประกอบ
อินทีเรีย ดีไซน์เนอร์มีหน้าที่อะไรบ้าง?
สำหรับดีไซน์เนอร์ที่ดีจะให้ความสำคัญอยู่ 2 เรื่องคือ
1. ช่วยดูแลสุนทรียภาพ เป็นสายตาแทนลูกค้า ควบคุมภาพรวมในการออกแบบให้ดูสวยงาม
ลูกค้าส่วนใหญ่ที่มาหาดีไซน์เนอร์ มักจะมีไอเดียที่กระจัดกระจาย ดังนั้น ดีไซน์เนอร์ก็จะมาช่วยดูแล ปรับส่วนที่เกิน เติมสิ่งที่ขาด สร้างสรรค์งานให้กลมกล่อมน่าสนใจ เหมาะสมกับงบประมาณที่ลูกค้ามี เหมือนกับพ่อครัวที่ปรุงอาหาร จากวัตถุดิบต่างๆ ออกมาให้อร่อยนั่นเอง
2. ช่วยแก้ปัญหา ตั้งแต่การออกแบบฟังก์ชันการใช้งาน การลงรายละเอียดต่างๆ การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม รวมไปถึงให้คำปรึกษาระหว่างการก่อสร้าง
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นคุณค่าของดีไซน์เนอร์ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ในการทำงาน เช่น ในการเลือกใช้วัสดุ เจ้าของบ้านก็อาจจะได้ฟังจากเซลล์ที่ขายสินค้านั้นๆ ก็จะเห็นแต่ข้อดีของวัสดุที่ตัวเองเจอ ดังนั้นในฐานะดีไซน์เนอร์ก็จะเป็นเหมือนบุคคลที่ 3 ที่มาช่วยให้คำแนะนำ หรือเป็นคนที่สามารถตัดสินใจได้ดีกว่าเจ้าของบ้านนั่นเอง
หลักการออกแบบตกแต่งภายใน
หลักการออกแบบตกแต่งภายใน มี 4 ข้อมีดังต่อไปนี้
1. ประโยชน์ใช้สอย
ประโยชน์ใช้สอยในงานออกแบบตกแต่งภายใน คือ ความเหมาะสมกับการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย เช่น การออกแบบเก้าอี้ตัวหนึ่ง อาจดูรูปแบบและสีสันสวย น่ามอง น่าลูบไล้ แต่เมื่อลองนั่งแล้ว ปรากฏว่ามีอาการเจ็บหลัง การทรงตัวไม่ดี ถ้านั่งไม่ระวังอาจพลิกหงายหลังได้
แสดงว่าการออกแบบเก้าอี้ตัวนี้ล้มเหลว ไม่ประสบความสำเร็จ เสียทั้งเงินทุน เสียค่าแรงงาน กำลังสติปัญญาและเสียเวลา มีผลกระทบต่อจิตใจด้วย
2. ความงามของรูปแบบงาน
ความงามของรูปแบบงานออกแบบตกแต่งภายใน เป็นองค์ประกอบที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้ ทั้งในด้านความงาม ความทันสมัย ความมีรสนิยมและกลมกลืนกับบรรยากาศ
3. การจัดวาง
การวางตำแหน่งเครื่องเรือนเครื่องใช้ตามหน้าที่ของการใช้สอยภายในห้อง เพื่อให้เกิดความงาม ความเป็นระเบียบ เกิดมิติ ช่องว่างและความกลมกลืน
4. จิตวิทยาในการใช้ตกแต่งภายใน
การออกแบบตกแต่งภายใน ผู้ออกแบบควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ ระดับการศึกษา รสนิยมและความต้องการพื้นฐานของผู้ใช้งาน เพื่อให้งานออกแบบตกแต่งภายในเกิดประโยชน์สูงสุด สีมีอิทธิพลต่อความรู้สึกตอบสนองของมนุษย์มาก
การออกแบบตกแต่งภายในจำเป็นต้องพยายามเรียนรู้ทฤษฎีเกี่ยวกับสีให้เข้าใจเพราะอารมณ์และความรู้สึกที่มีต่อสีนั้น มีผลต่อจิตใจเป็นอย่างมาก การใช้สีตกแต่งภายในควรคำนึงถึงเพศ วัย รสนิยมและประโยชน์ใช้สอยของผู้อาศัยอยู่ในห้องเป็นสำคัญ
นอกจากนั้นควรคำนึงถึงบรรยากาศของแต่ละห้องว่ามีแสงสว่างจากภายนอกเข้าไปได้มากน้อยเพียงใด ถ้าห้องนั้นมีแสงสว่างจากภายนอกเข้าไปมาก ก็ควรจะลดความสดหรือความสว่างของสีลง แต่ในทำนองเดียวกัน ถ้าห้องที่มีแสงสว่างจากภายนอกเข้าไปน้อย ก็ควรใช้สีที่สดใสหรือสีที่สว่าง จะทำให้ห้องนั้นสว่างขึ้น นี่คือหลักการ ออกแบบตกแต่งภายใน ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั่วไป
ออกแบบตกแต่งภายใน บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ ตึกแถว คอนโด กับ UREBUILD
ออกแบบตกแต่งภายใน บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ ตึกแถว คอนโด โดยอินทีเรียดีไซเนอร์(มัณฑนากร) มืออาชีพ กับ UREBUILD
รับออกแบบงานบิ้วอิน(Built-in) งานออกแบบ 3D รีโนเวท ด้วยทีมออกแบบมืออาชีพที่มีประสบการณ์นานหลายปี อินทีเรียดีไซเนอร์(มัณฑนากร) รับออกแบบตกแต่งภายใน Built-in ผลิตเฟอร์นิเจอร์ Built-in ปรึกษาประเมินราคาฟรี คุมงบตกแต่งได้ไม่บานปลาย รับตกแต่งทุกสไตล์ เช่น แนว Minimal Muji Classic Modern Loft Contemporary luxury ญี่ปุ่นjapanese
- ควบคุมคุณภาพงานออกแบบและรับเหมาตกแต่งภายในโดยวิศวกรและสถาปนิกให้ออกมาได้คุณภาพเกินมาตรฐาน ฟังก์ชั่นการใช้งานครบครัน
- มีทีมให้บริการครบวงจร Turnkey รับเหมาตกแต่งครบวงจร
- ติดต่อทำงบประมาณได้ทันที ปรึกษาฟรี เรามีทีมงานมือาชีพ มากประสบการณ์ บริการประทับใจ
- ให้บริการ รับเหมาตกแต่งภายใน รับออกแบบและตกแต่งภายใน ที่อยู่อาศัย บ้าน คอนโด ร้านอาหาร สำนักงาน ตกแต่งภายในครบวงจร office interior design ตามแบบไลฟ์สไตล์คุณ
- รับออกแบบตามงบประมาณ ราคาไม่แพง พร้อมเนรมิตบ้านธรรมดา ให้เป็นบ้านในฝัน โดยทีมช่างที่มากด้วยประสบการณ์ด้านการรับออกแบบภายในบ้าน
- ใส่ใจทุกรายละเอียดในการทำงาน จริงใจไม่ทิ้งงาน พร้อมให้คำปรึกษา วางแผนร่วมกันกับลูกค้า ประเมินราคาถึงหน้างาน วางแผนงานให้ตั้งแต่ต้นจนจบ
เราเป็นบริษัทที่รับออกแบบและตกแต่งภายในที่พักอาศัยทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาคาร คอนโด โรงแรม รวมถึงงานเฟอร์นิเจอร์ บิวท์อิน และงานก่อสร้าง ด้วยบริการที่ครบ จบในที่เดียว
ออกแบบ ให้คำปรึกษาทุกขั้นตอนมืออาชีพ ดูแลอย่างเป็นกันเอง ตามงบประมาณประสบการณ์นานหลายปี
บริการของ UREBUILD >> รับออกแบบตกแต่งภายใน
สารบัญ
- ขั้นตอน ออกแบบภายใน ที่ผู้ว่าจ้างควรรู้
- Interior Designer มีหน้าที่อะไรบ้าง คิดค่าแบบยังไง
- ขั้นตอนการ ออกแบบภายใน มีอะไรบ้าง
- ขั้นตอนการทำงานของ Interior designer เป็นอย่างไรบ้าง
- หลักการคิดค่าออกแบบเป็นอย่างไรบ้าง
- สรุป
ขั้นตอน ออกแบบภายใน ที่ผู้ว่าจ้างควรรู้
การปลูกสร้างบ้าน หรือสร้างอาคารสำนักงานต่าง ๆ งานออกแบบตกแต่งภายใน หรือออกแบบอินทีเรียร์ คือขั้นตอนสุดท้ายของงาน ที่การตกแต่งจะให้ความสำคัญกับเรื่องของประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามเป็นสำคัญ การเลือกบริษัทรับออกแบบที่มีประสบการณ์และมี Interior-Designer ที่มีทักษะความสามารถ จะทำงานตามขั้นตอนเพื่อให้ผลงานการออกแบบนั้น ๆ มีคุณภาพมากที่สุด
คำว่า Interior หรือ Interior-Designer คือ มัณฑนากร ที่ทำหน้าที่ออกแบบตกแต่งภายในอาคาร หรือสถานที่ต่าง ๆ รวมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยการนำความรู้ และความคิดในด้านศิลปะ การออกแบบ การผลิตและการตลาดมาผสมผสานเข้าด้วยกัน
ซึ่งมัณฑนากรหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ออกแบบอินทีเรีย จะต้องดำเนินงานโดยการกำหนดรายละเอียดของส่วนประกอบ จัดวางแผนผังของแบบ รวมทั้งควบคุมดูแลการทำงานของช่างตกแต่งภายใน อาคาร บ้านพักอาศัย พื้นที่จัดแสดงสินค้าและนิทรรศการต่าง ๆ รวมไปถึงการจัดภายในตู้แสดงสินค้าของห้างสรรพสินค้าให้สวยสมบูรณ์แบบมากที่สุด
โดยหลักการทำงานแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่
1. การให้คำแนะนำปรึกษาและขอข้อมูล
ขั้นตอนแรกของบริษัทรับออกแบบอินทรีเรียร์ ในการให้บริการลูกค้า หากเป็นบริษัทที่ให้บริการมานาน มีประสบการณ์และมีทีมงานระดับมืออาชีพ เมื่อได้รับการติดต่อจากลูกค้าหรือผุ้ว่าจ้าง
จะพูดคุยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับออกแบบตกแต่งในด้านต่าง ๆ ตามที่ลูกค้าต้องการทราบอย่างละเอียด รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เมื่อเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการหรือรู้วัตถุประสงค์ของงานออกแบบ ก็จะขอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการออกแบบเพื่อวางแผนงานหรือประเมินค่าใช้จ่าย
2. ขั้นตอนการนำเสนอแนวคิดเพื่อการออกแบบขั้นต้น
ขั้นตอนนี้เมื่อบริษัทรับออกแบบ หรือออกแบบอินทรีเรียร์ ได้รับข้อมูลจากลูกค้าแล้ว จะต้องออกแบบและวางผังตามรูปแบบให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าซึ่งส่วนมากเพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ นักออกแบบจะนำนิตยสาร หรือออกแบบด้วยภาพวาด 2 มิติ 3 มิติหรือหากเป็นโครงการใหญ่ ๆ อาจนำเสนอด้วยการออกแบบที่เป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีความสมจริงให้ลุกค้าพิจารณา
3. ขั้นตอนในการพัฒนาปรับแก้แบบร่างครั้งแรก
เป็นขั้นตอนที่หลังจากนักออกแบบหรือออกแบบอินทรีเรียร์ ได้นำเสนอแบบร่างให้ลูกค้าพิจารณาแล้ว ขั้นตอนนี้ลูกค้าจะสามารถขอปรับหรือแก้ไขรูปแบบของงานได้ ซึ่งแต่ละบริษัทอาจมีเงื่อนไขแตกต่างกัน เช่น จำนวนครั้งในการขอปรับแก้นั้นสามารถทำได้ไม่เกิน 2 ครั้งหรือมีเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่ตกลงกันไว้
4. การพัฒนาแบบร่างขั้นสุดท้าย
ขั้นตอนนี้เป็นการพัฒนาหรือปรับแก้ไขแบบร่างการออกแบบตกแต่งภายในตามคำแนะนำของลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง และเป็นการปรับแก้ครั้งสุดท้าย สำหรับขั้นตอนนี้ออกแบบอินทรีเรียร์จะทำการพัฒนาแบบร่างจากการออกแบบที่ได้ผ่านการอนุมัติจากแบบร่างขั้นต้นมาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการแก้ไขเพียงเล็กน้อยเพื่อให้งานออกแบบสมบูรณ์ที่สุด
5. ขั้นตอนการกำหนดวัสดุสำหรับตกแต่งภายใน
เมื่อแบบร่างงานออกแบบตแต่งภายในสมบูรณ์พร้อมที่จะนำไปใช้ ก็จะเป็นขั้นตอนการกำหนดวัสดุที่จะนำมาใช้ในการตกแต่งทั้งหมดให้ลูกค้าได้พิจารณา โดยนักออกแบบจะอ้างอิงจากงานแบบร่างขั้นสุดท้ายที่ได้ผ่านการการอนุมัติมาแล้ว เพื่อจัดทำรูปแบบนำเสนอให้ลูกค้าได้ทำการพิจารณาเปรียบเทียบวัสดุ จากนั้นนักออกแบบจึงจะสามารถดำเนินการในขั้นตอนสุดท้ายคือขั้นตอนการเขียนแบบรายละเอียดต่อไป
6. ขั้นตอนของการเขียนแบบรายละเอียด
ขั้นตอนนี้คือการที่ออกแบบอินทรีเรียร์จะเขียนแบบรายละเอียด และทำการพิมพ์แบบฉบับร่างออกมาเพื่อนำเสนอให้ลูกค้าได้พิจารณารายละเอียดทั้งหมดของงานโดยที่ลูกค้าสามารถขอปรับแก้รายละเอียดในแบบกับนักออกแบบได้ และเมื่อแก้ไขแบบรายละเอียดฉบับร่างได้ตรงตามที่ต้องการแล้ว ออกแบบอินทรีเรียร์จะทำการพิมพ์แบบรายละเอียดฉบับจริงต่อไป
สำหรับการออกแบบตกแต่งภายในทั้ง 6 ขั้นตอน หากผู้ว่าจ้างมีความรู้ขั้นตอนการทำงานของ ออกแบบอินทรีเรียร์อย่าเข้าใจก็จะเป็นประโยชน์ในการติดต่อบริษัทรับออกแบบที่เป็นมืออาชีพได้ง่ายและทำให้ผลงานการออกแบบตรงตามความต้องการได้มากที่สุด
Interior Designer มีหน้าที่อะไรบ้าง คิดค่าแบบยังไง
หลังจากที่เราซื้อบ้านหรือว่าซื้อคอนโดกันมาแล้ว การตกแต่งภายในบ้านหรือคอนโดให้น่าอยู่ก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องทำเป็นอันดับต่อมา การจะจ้าง Designer มาช่วยออกแบบก็เกิดคำถามในใจว่า
- Interior Designer คิดค่าแบบกันยังไง
- Interior Designer ทำหน้าที่อะไรบ้าง ขั้นตอนการทำงานเป็นยังไง ใช้เวลาในการออกแบบนานไหม
- ถ้าเราอยากตกแต่งภายในบ้านหรือว่าคอนโดเราสามารถคำนวนงบประมาณคร่าวๆ ได้หรือไม่
และอีกมากมายให้เราหาคำตอบกัน
ค่าออกแบบภายในคิดยังไง
ค่าออกแบบจะมีวิธีคิดหลายแบบ หลายราคาเลย ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของงานออกแบบ ว่ามีดีเทลการออกแบบมาก-น้อยขนาดไหน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของดีไซน์เนอร์ในแต่ละคน เช่น ดีไซน์เนอร์ที่เพิ่งเรียนจบใหม่ ก็อาจจะมีวิธีการคิดค่าบริการต่ำกว่าดีไซน์เนอร์ที่มีผลงานและประสบการณ์มามาก โดยหลักการคิดค่าแบบจะมีอยู่ 2-3 วิธีคือ
1. ประเมินจากมูลค่าการก่อสร้าง
ประเมินจากมูลค่าการก่อสร้าง เช่น ค่าก่อสร้างต่อตร.ม. อาจจะอยู่ที่ 15,000 – 30,000 บาท/ตร.ม. (ขึ้นอยู่กับดีเทล, วัสดุ, ความยากง่ายในแต่ละพื้นที่) ซึ่งตัวเลขนี้เมื่อนำมาคูณกับปริมาณพื้นที่ก่อสร้างแล้ว ก็จะกลายเป็นมูลค่างานก่อสร้างค่ะ ซึ่งดีไซน์เนอร์จะเอาตัวเลขนี้มาคิดเป็นค่าแบบ แต่ละเจ้าก็อาจจะมีสัดส่วนแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 10%
2. ประเมินจากเรทค่าออกแบบต่อตร.ม.
ประเมินจากเรทค่าออกแบบต่อตร.ม. เช่น พื้นที่ที่ออกแบบมี 100 ตร.ม. ดีไซน์เนอร์ก็จะมีเรทราคาค่าออกแบบต่อตร.ม.ในใจที่นำเอาไปคูณกับขนาดพื้นที่ออกมาเป็นค่าบริการงานออกแบบ ซึ่งเรทราคาของดีไซน์เนอร์แต่ละคนก็จะไม่เท่ากัน และ ราคาต่อตร.ม.ในแต่ละฟังก์ชันการใช้งานบางครั้งก็แตกต่างกันอีกเช่นกัน ซึ่งราคาค่าออกแบบต่อตร.ม.ก็มีตั้งแต่ 1,xxx – 3,xxx บาท/ตร.ม. (ซึ่งเรทที่ต่ำกว่านี้ก็อาจจะมีเช่นกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการทำงานของดีไซน์เนอร์ด้วย)
3. ประเมินจากขั้นต่ำของค่าออกแบบ
ประเมินจากขั้นต่ำของค่าออกแบบ หลักการนี้เราต้องขอเล่าก่อนว่าในการทำงานโปรเจคหนึ่งนั้น ถ้าเป็นงานออกแบบ Full Scale มักจะกินเวลา 3-4 เดือนเป็นอย่างต่ำ ซึ่งตัวดีไซน์เนอร์จะมีค่าใช้จ่ายแบบที่เป็น Fix cost อยู่เช่น เวลาที่ต้องคุยกับลูกค้า ค่าเดินทางไปไซต์งานต่างๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นงานพื้นที่เล็กหรือว่าพื้นที่ใหญ่ก็จะต้องลงทุนกับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปเท่าๆ กัน
ดังนั้นดีไซน์เนอร์แต่ละเจ้าก็มักจะกำหนดค่าบริการการออกแบบขั้นต่ำในใจเอาไว้ เพื่อให้ครอบคลุมกับค่าแรงที่ต้องเสียไปในส่วนนี้นั่นเอง ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่เราอยากให้ดีไซน์เนอร์ช่วยออกแบบพื้นที่ 30 ตร.ม. ก็เป็นไปได้ว่าค่าแบบอาจจะอยู่ที่ 100,000 บาท ซึ่งเป็นค่าบริการขั้นต่ำของดีไซน์เนอร์คนนั้น
ถ้าเราโอเคกับราคานี้ ก็ตกลงเซ็นสัญญาเพื่อเริ่มงานได้เลย แต่ถ้าไม่ไหว ก็ลองหาเจ้าอื่นที่คิดค่าออกแบบขั้นต่ำที่น้อยกว่านี้ก็ได้ ทั้งนี้ค่าออกแบบขั้นต่ำก็ขึ้นอยู่กับดีไซน์เนอร์แต่ละคน มีตั้งแต่หลักหมื่นไปจนหลักแสน
ขั้นตอนการ ออกแบบภายใน มีอะไรบ้าง
ในขั้นตอนแรกจะเป็นการนัดเจอพูดคุยกัน ไปดูสถานที่จริงกันก่อน เพื่อให้ทั้งตัวดีไซน์เนอร์เองและลูกค้าได้เห็นหน้าค่าตากันว่าสามารถทำงานเข้ากันได้ไหม ก่อนที่จะตกลงเซ็นสัญญาทำงานร่วมกัน ทั้งนี้เนื่องมาจากในการออกแบบบ้านหลังหนึ่งนั้น ตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบจนก่อสร้างเสร็จบางครั้งอาจกินเวลาไปถึง 2-3 ปีได้ ดีไซน์เนอร์เองจะต้องทำงานกับเจ้าของบ้านอย่างละเอียด
แม้จะมีการกำหนดจำนวนครั้งที่ส่งงานหรือว่าจำนวนครั้งที่เข้าไปตรวจเช็คหน้างานตามที่ระบุไว้ในสัญญา แต่ด้วยตัวโปรเจคบ้านที่เจ้าของบ้านมักจะมีความละเอียดอ่อนสูง ทำให้ดีไซน์เนอร์มักจะต้องพบปะกับเจ้าของบ้านบ่อยครั้งมากกว่านั้น ความเข้ากันได้ระหว่างดีไซน์เนอร์และเจ้าของบ้านจึงสำคัญ เมื่อตกลงกันเรียบร้อยแล้ว ก็จึงเซ็นสัญญาการออกแบบเพื่อเริ่มทำงาน
เนื้องานที่ Interior ทำถือว่าเป็น Full Scope Design ตั้งแต่ออกแบบ ไปจนถึงการเลือกงานศิลปะ หรือ Prop ที่มาตกแต่งภายในบ้าน ต้องให้คำปรึกษากับเจ้าของบ้าน และต้องทำงานร่วมกับทีมอื่นๆ อีก เช่น สถาปนิกที่ออกแบบบ้าน ผู้รับเหมา เพื่อให้งานออกมาไม่มีปัญหา การประสานงานหรือการทำงานร่วมกับทีมอื่นๆ ก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น บางครั้งการออกแบบภายในย่อมต้องสัมพันธ์กับงานออกแบบภายนอก เช่น การจัดวางหน้าต่าง ขนาดช่องแสง หรือแม้กระทั่งงานระบบต่างๆ ถ้าสามารถทำงานควบคู่พร้อมกันไปได้ ปัญหาที่ต้องแก้ไขระหว่างขั้นตอนก่อสร้างก็จะน้อยลง เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของบ้าน
งานออกแบบภายใน ควรที่เหมาะสมกับเจ้าของบ้าน
ในช่วงเริ่มต้นของการทำงาน interior designer จะเริ่มต้นจากการพูดคุยกับเจ้าของบ้านก่อน โดยจะให้ความสำคัญและให้เวลากับขั้นตอนนี้มาก เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าเจ้าของบ้านเป็นคนอย่างไร ทั้งรสนิยม ความชอบ นิสัย รวมไปถึงวิถีการใช้ชีวิต เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาเป็นโจทย์ในการออกแบบให้เหมาะสมกับเจ้าของบ้าน ยิ่งรู้ข้อมูลเยอะเท่าไหร่ งานออกแบบที่ได้ก็จะเข้ากับเจ้าของบ้านมากเท่านั้น
Interior ออกแบบภายใน งานประเภทไหนบ้าง
สำหรับงานออกแบบส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ออกแบบภายในบ้านพักอาศัยขนาดใหญ่ สเกล 500-2,000 ตร.ม. และอีกส่วนจะเป็นการออกแบบงานในเชิง Commercial ที่เน้น Concept โดดเด่น มี Branding ที่ชัดเจน ในส่วนของบ้านพักอาศัย ตัวออฟฟิศจะเป็นงานที่มี Detail ในการออกแบบเยอะ เนื่องมาจากวิธีการทำงานที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบให้เหมาะสมกับเจ้าของบ้านมากที่สุด
ขั้นตอนการทำงานของ Interior designer เป็นอย่างไรบ้าง
ในขั้นตอนแรก จะเริ่มจากการพูดคุยความต้องการกับทางลูกค้าก่อน ว่าลูกค้ามีลักษณะการใช้งานประมาณไหน สไตล์ที่ชอบเป็นอย่างไร ซึ่งในเบื้องต้นลูกค้าอาจจะมีภาพ Reference มาให้ดู ก็จะช่วยให้ดีไซน์เนอร์เห็นภาพตรงกันกับลูกค้า ภาพ Reference นี้ถือว่ามีประโยชน์มากกว่าการพูดคุยกันด้วยปากเปล่า
ซึ่งหลังจากขั้นตอนนี้ ก็จะประเมินราคาค่าออกแบบจากปริมาณงาน รูปแบบ สไตล์ที่ลูกค้าต้องการ แล้วจึงทำใบเสนอราคาส่งกลับไปให้ทางลูกค้า
ขั้นตอนการทำงานกับดีไซน์เนอร์ เริ่มต้นจากอะไร
ในช่วงแรกจะเป็นการพูดคุยข้อมูลคร่าวๆ กับลูกค้าก่อนว่างานที่จะให้ทำประมาณไหน? เช่น เป็นบ้านสร้างใหม่ หรือว่ารีโนเวทโครงการเก่า มีข้อจำกัดอะไรบ้าง? ลูกค้าอยากได้ Mood&Tone ของงานให้ออกมาสไตล์ไหน? โดยลูกค้าอาจจะส่งรูปพื้นที่ที่ให้ออกแบบมาให้ดู พร้อมกับระยะคร่าวๆ รวมไปถึงงบประมาณที่ตั้งเอาไว้ เพื่อให้ดีไซน์เนอร์สามารถประเมินค่าออกแบบได้
แม้พื้นที่มีขนาดเท่ากัน ค่าแบบก็อาจจะแตกต่างกันได้
แม้พื้นที่ที่จะต้องออกแบบมีขนาดเท่ากัน แต่การคิดราคาค่าแบบก็อาจจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสไตล์ที่ลูกค้าต้องการ เช่น บางสไตล์ที่ลูกค้าชอบก็อาจจะมีดีเทลไม่มาก รายละเอียดน้อย การคิดค่าแบบก็อาจจะไม่เท่ากับสไตล์ที่ต้องลงดีเทลเยอะ หรือว่าต้องมี Built-in มาก เป็นต้น
หลักการคิดค่าออกแบบเป็นอย่างไรบ้าง
วิธีคิดค่าออกแบบโดยปกติ จะมีอยู่ 2 แบบ ดังนี้
- แบบแรกคิดค่าแบบต่อตร.ม.ของพื้นที่ออกแบบ
- คิดค่าแบบแบบเหมา กรณีนี้จะเกิดขึ้นในงานที่มีสเกลหรือขนาดพื้นที่เล็กมาก โดยทั่วไป Designer มักจะมีค่าออกแบบขั้นต่ำสำหรับเริ่มงานด้วย
หลังจากเสนอราคาค่าแบบแล้ว จะมีการเซ็นสัญญาเพื่อเริ่มทำงานกันไหม
ในใบเสนอราคานั้น ทางฝั่งดีไซน์เนอร์จะระบุเนื้องานที่ทำเอาไว้ ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การจัดทำภาพ Perspective กี่ภาพ ไปจนถึงการทำแบบก่อสร้างเพื่อส่งให้ทางผู้รับเหมาคิดราคาและดำเนินงานต่อ
ถ้าหากลูกค้าตกลงกับข้อตกลงในใบเสนอราคา จะมีการทำสัญญาก่อนเริ่มงาน โดยจะมีการแบ่งจ่ายค่าออกแบบตามงวดงานเอาไว้คร่าวๆ 3-4 งวด ดังนี้
งวดที่ 1 : 20% เริ่มต้นเก็บเมื่อเซ็นสัญญาเพื่อเริ่มทำแบบ โดยเนื้องานในช่วงนี้จะเป็นการออกแบบ Function , Detail การใช้งานเป็นหลัก โดยจะเป็นการพูดคุยจากแบบ 2 มิติ หรือว่าคุยกันผ่าน Plan เป็นหลัก รวมถึงดีไซน์เนอร์จะเสนอภาพ Reference เป็น Mood&Tone ในแต่ละส่วน โดยอาจจะเสนอเป็น option หลาย style มาให้ทางลูกค้าเลือก เพื่อให้ภาพรวมหรือ Direction ในการออกแบบระหว่างดีไซน์เนอร์และลูกค้าตรงกันก่อนเริ่มงานขั้นต่อไป
งวดที่ 2 : 35-40% จะเก็บหลังจาก การพูดคุย ออกแบบภาพรวมทั้งหมดเสร็จเรียบร้อย โดยจะมีการเสนองานผ่านภาพ Perspective ที่แสดงให้ลูกค้าเห็นถึงรายละเอียดการใช้งาน Mood&Tone รวมถึงวัสดุที่จะใช้จริงภายในห้อง ภาพรวมในการออกแบบภายใน ในแต่ละส่วนของพื้นที่ใช้งาน
ในส่วนของวัสดุจะมีการนำตัวอย่างจริงมาให้ลูกค้าดูก่อนที่จะ spec ลงในแบบ หลังจากเสร็จขั้นตอนนี้ลูกค้าจะเห็นภาพรวมของพื้นที่ทั้งหมดที่ใกล้เคียงกับงานที่จะออกมาจริงหลังก่อสร้างเสร็จ
งวดที่ 3 : 30-35% จะเก็บหลังจากแบบก่อสร้างเสร็จ ซึ่งแบบชุดนี้จะถูกส่งต่อไปให้ทางผู้รับเหมาประเมินราคาค่าต่อสร้างต่ออีกที
งวดที่ 4 : 10% ค่าแบบงวดสุดท้ายนั้นจะเก็บหลังจากงานก่อสร้างเสร็จสิ้น เพื่อเป็นหลักประกันให้กับลูกค้าว่าดีไซน์เนอร์จะคอยช่วยดูแลหน้างานให้ตรงตามแบบ
** ทั้งนี้วิธีคิดงวดงานต่างๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทอีกที
สรุป
ในการ ออกแบบภายใน ที่ดี ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น งานที่ดีมาจากการทำงานร่วมกันของทั้งสถาปนิก, Interior Designer และ เจ้าของบ้านที่ได้มาใช้เวลาพูดคุยกัน ข้อมูลจากเจ้าของบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดงานที่เหมาะสมและเข้ากับตัวตนของเจ้าของบ้านมากที่สุด
ส่วนในการทำงานจริงทุกงานนั้นยังไงก็ต้องเจอกับปัญหา แต่ว่าเราต้องมีการวางแผน มีวิธีการรับมือ หรือเตรียมพร้อมแก้ไขปัญหาเมื่อมันเกิดขึ้น จุดนี้จึงเป็นอีกสิ่งที่สำคัญในการทำงาน
ในยุคนี้ถือว่าเป็นยุคของข้อมูลข่าวสารที่ทุกคนสามารถเปิด Pinterest หาแรงบันดาลใจกันได้ จึงไม่ใช่ทุกงานหรือว่าทุกคนที่ต้องการดีไซน์เนอร์ให้มาช่วยออกแบบ สำคัญที่ตัวเจ้าของจะต้องรู้ว่าตัวเองว่าต้องการอะไร ให้คุณค่ากับการออกแบบมากขนาดไหน สิ่งที่ต้องการเหมาะกับการที่จะต้องให้ดีไซน์เนอร์มาช่วยหรือไม่
ในบางครั้ง ถ้าเจ้าของมีความต้องการชัดเจน ขนาดงานไม่ใหญ่มาก มี Reference ที่ชัด สิ่งที่ต้องการอาจจะเป็นเพียงภาพ Perspective จากดีไซน์เนอร์ก็เพียงพอกับความต้องการแล้ว อาจจะไม่จำเป็นถึงขนาดทำแบบก่อสร้าง ถ้ารู้ว่าเราต้องการเพียงเท่านี้ ก็สามารถตกลงกับดีไซน์เนอร์ตั้งแต่เริ่มต้นพูดคุย Scope งานและค่าใช้จ่าย เพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการได้เลย แต่ถ้าให้คุณค่าและความสำคัญในการออกแบบ บริการจากดีไซน์เนอร์ก็ถือว่าตอบโจทย์
หน้าที่ของ Interior Designer คือการออกแบบตกแต่งภายในให้เหมาะตรงกับความต้องการของลูกค้า ทั้งในแง่ฟังก์ชัน และ ความสวยงาม ส่วนขั้นตอนการก่อสร้างหรือว่าคัดเลือกผู้รับเหมานั้น แล้วแต่ลูกค้าในการเลือกผู้รับเหมา แต่ถ้าลูกค้าไม่มีผู้รับเหมาในใจ ก็สามารถแนะนำผู้รับเหมาที่เคยร่วมงานกันให้ได้
โดยหน้าที่ของ Interior Designer นั้น จะเสร็จสิ้นเกือบ 100% เมื่อทำแบบเสร็จและส่งมอบแบบก่อสร้างให้กับลูกค้า แต่ก็อาจจะเผื่องวดสุดท้ายอีกประมาณ 10% เผื่อการดูแลในขั้นตอนการก่อสร้าง เช่น การทำงานร่วมกันกับผู้รับเหมาและเจ้าของในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง หรือการปรับเปลี่ยนวัสดุหรือแบบที่เกิดขึ้นหน้างานจากขั้นตอนการก่อสร้างอีกที
การช่วยดูแลหน้างานระหว่างที่ก่อสร้างนั้นขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างลูกค้ากับดีไซน์เนอร์ตั้งแต่ต้น ว่า Scope งานรวมถึงขั้นตอนนี้ด้วยไหม? กรณีช่วยดูจนจบงาน(สร้างเสร็จ) จะอยู่ให้คำแนะนำทางเจ้าของและผู้รับเหมาในระหว่างการก่อสร้าง และอาจจะเข้าไปช่วยเช็กที่หน้างานประมาณเดือนละ 2 ครั้ง ดูว่าหน้างานสร้างตรงกับที่ออกแบบไว้หรือไม่ และเผื่อแก้ปัญหาหน้างานต่างๆ เช่น วัสดุที่ไม่ตรงกับแบบที่ออกแบบไว้ เป็นต้น
ในกรณีที่เป็นบ้านหรือคอนโดขั้นตอนการออกแบบจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทางเจ้าของบ้านหรือเจ้าของห้องด้วย ระหว่างออกแบบนั้น หลังจากที่ส่งแบบให้ลูกค้าดูแล้ว ระยะเวลาที่รอฟีดแบคจากลูกค้าก็เป็นเรื่องที่ดีไซน์เนอร์ควบคุมไม่ได้
ในบางครั้งที่เป็นการออกแบบบ้าน ความต้องการของเจ้าของบ้านอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไประหว่างออกแบบ ซึ่งทางดีไซน์เนอร์ส่วนใหญ่มักจะกำหนดไว้คร่าวๆ ว่าสามารถปรับแบบได้ไม่เกิน 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งก็มีระยะเวลาในการทำงานอยู่
สำหรับใครที่อยากคำนวนงบประมาณตกแต่งภายในคร่าวๆ ก็สามารถลองเอาตร.ม.ที่เราต้องการก่อสร้าง x 15,000 บาท ไปก่อนก็ได้ เป็นงบประมาณขั้นต่ำที่เป็นไปได้ในการก่อสร้าง ซึ่งในการออกแบบและก่อสร้างจริง ราคานี้ก็อาจจะไม่ตายตัว ปรับเปลี่ยนไปตามวัสดุและเฟอร์นิเจอร์ที่เลือกอีกที เช่น บางโครงการวัสดุที่ปูพื้นตามมาตรฐานใช้เป็นกระเบื้องลายหิน แต่ลูกค้าต้องการใช้เป็นหินจริง งบประมาณก็จะใช้เพิ่มขึ้นตามวัสดุที่ลูกค้าเลือก
ในมุมมองของคนทั่วไปอาจจะคิดว่า การจ้าง Interior Designer เป็นสิ่งที่สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น แต่ถ้าลูกค้ามีงบประมาณเพียงพอ ก็อยากให้ลงทุนกับการจ้าง Interior Designer เนื่องจากถ้าใครเคยทำบ้าน จะพบว่ารายละเอียดและขั้นตอนในการสร้างบ้านหลังนึงมีมากจริงๆ และถ้าหากผิดพลาดไปทุกอย่างเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงอาจจะต้องทนอยู่กับสิ่งที่ไม่ชอบ หรือไม่ตรงกับการใช้งานของตัวเอง
หรือถ้าเกิดเหตุการณ์ว่าช่างก่อสร้างทำพลาดและไม่สามารถแก้ไขได้ การมีคนที่มีประสบการณ์คอยแนะนำ เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น และทำให้การก่อสร้างออกมาตรงตามความต้องการของเราเป็นสิ่งที่คุ้มค่า อีกทั้งขั้นตอนการออกแบบ ตั้งแต่การพูดคุยกับดีไซน์เนอร์จะช่วยให้ลูกค้าได้เข้าใจกับการใช้งานของตัวเองมากขึ้น และจะทำให้ลูกค้าได้สิ่งที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด
เมื่อออกแบบเสร็จสิ้นแล้วลูกค้าจะเห็นภาพรวมทั้งหมดของสิ่งที่ต้องการก่อนก่อสร้างจริง ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดในขั้นตอนการก่อสร้างไปได้อีกระดับนึง