การรีโนเวทบ้าน คือ การปรับปรุงบ้านเก่าให้กลายเป็นบ้านหลังใหม่ที่มีความสวยงาม ไม่เสื่อมสภาพอย่างเดิม และกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก สำหรับผู้ที่กำลังต้องการรีโนเวทบ้าน หรือ ซื้อบ้านเก่ามา และมีความต้องการที่จะทำบ้านใหม่ ต้องมีการคำนึงถึงองค์ประกอบและส่วนสำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบ้านของคุณด้วยเช่นเดียวกัน
รีโนเวทบ้านเก่า หรือ สร้างบ้านใหม่ ดี? มีอะไรบ้างข้อดีข้อเสีย ในการรีโนเวทบ้านเก่า เริ่มยังไง แพงไหม นานมั้ย หรือ สร้างบ้านใหม่ ดี? คนอยากรีโนเวทบ้านไม้ชั้นเดียว ตึกแถว ทาวน์เฮ้าส์ คอนโด อพาร์ทเมนต์ ต้องอ่าน
การมีบ้านที่สวยงามน่าอยู่เป็นฝันของหลายๆ คน แต่ความรู้สึกจะเป็นอย่างไรเมื่อคุณตื่นขึ้นมาจากความฝันและพบว่าตัวเองอยู่ในบ้านแสนเก่าแถมฟังก์ชั่นหลายอย่างไม่ตอบสนองความต้องการของคุณอีกแล้ว จะเลือกทางไหนดีระหว่างการ รีโนเวทบ้าน หลังเก่า หรือ ซื้อบ้านใหม่ หลังใหม่เอี่ยมเสียเลย ถ้าตัดสินใจยาก บทความนี้มี Tips ช่วยในการตัดสินใจระหว่างสองทางเลือกนี้
สารบัญ
- รีโนเวทบ้านต้องดูอะไรบ้าง
- ความแตกต่างระหว่าง การรีโนเวท และ การสร้างบ้านใหม่
- 6 หลักเปรียบเทียบ รีโนเวทบ้านเก่า หรือ ซื้อบ้านใหม่
- เตรียมตัวก่อนรีโนเวทบ้าน ต้องทำอะไรบ้าง
- สรุป
รีโนเวทบ้านต้องดูอะไรบ้าง
อันดับแรกควรเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า “ทำไมจึงต้องการที่จะปรับปรุงบ้าน หรือ รีโนเวทบ้านใหม่?” การตั้งคำถามจะทำให้คุณสามารถมองเห็นถึงปัญหาและจุดต่าง ๆ ที่ตรงตามความต้องการของคุณในการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดเช่น บ้านเริ่มทรุดโทรม มีการแตกร้าวของผนัง บ้านมีลักษณะที่เก่าเกินไป โดยการรีโนเวทนั้นคือการทำใหม่หรือซ่อมแซมให้บ้านมีสภาพที่ดีขึ้นนั่นเอง ความเหมาะสมและการจัดวางงบประมาณที่ต้องการใช้กือเป็นส่วนสำคัญ สำหรับคนที่กำลังอยากรีโนเวทบ้านพี่เข้ก็มีคำแนะนำว่าควรคำนึงถึงสิ่งใดก่อนที่จะทำการรีโนเวทบ้าน ซึ่งแต่ละส่วนของตัวบ้านนั้นมีความสำคัญที่แตกต่างกันออกไป
กฏหมายการสร้างบ้าน
หลักของกฏหมายการสร้างบ้าน หรือ พ.ร.บ ที่ทางเจ้าของบ้านต้องทราบเกี่ยวกับการดัดแปลง ต่อเติม ที่เกี่ยวข้องกัยการเพิ่ม ลด ขยาย ปรับเปลี่ยนสัดส่วน หรือ การกระทำให้บ้านเปลี่ยนไปจากเดิม ควรต้องทำการขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยต้องมีการยื่นแปลน รูปแบบการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งชื่อผู้รับเหมา วิศวกร และสถาปนิก
สำรวจโครงสร้างบ้าน
ก่อนจะรีโนเวทบ้าน ควรเช็คสภาพโครงสร้างบ้านอย่างละเอียด ทั้งประตูรั้ว ทางเดิน ที่จอดรถ มีการทรุดตัวของบ้านหรือไม่ บ้านทำจากโครงสร้างแบบใด มีรอยรั่วซึม แตกร้าว หรือมีช่องใต้พื้นหรือไม่ โดยเช็คและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยละเอียด
ประเมินงบประมาณ
การใช้จ่ายเป็นสิ่งที่สำคัญ หากจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพราะสภาพบ้านมีความทรุดโทรมมากก็ต้องใช้งบในปริมาณที่มากเช่นเดียวกัน หรือ หากเป็นการรีโนเวทปรับปรุงทั่วไปก็ควรมีการตั้งงบประมาณ และกำหนดระยะเวลาเพื่อป้องกันการยืดเยื้อ อีกทั้งควรจัดวางโครงสร้างและรูปแบบให้แน่ชัด อย่าเปลี่ยนรูปแบบบ่อยเพราะอาจทำให้การรีโนเวทนั้นใช้เวลานานขึ้น และจะเกิดปัญหางบบานปลายอย่างแน่นอน ความยากง่ายในการรีโนเวทแต่ละส่วน หรือ พื้นที่ของบ้านนั้นมีไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นหลังคา ฝ้า เพดาน พื้นภายในภายนอก ห้องน้ำ เป็นต้น
รีโนเวท บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ ตึกแถว กับ UREBUILD
- ออกแบบ NewDesign จากไลฟ์สไตล์ของคุณ สร้างบ้าน รีโนเวทบ้าน ตกแต่งภายใน บริการครบวงจร ดูแลหลังสร้างเสร็จ
- ควบคุมงานโดยสถาปนิก-วิศวกรมืออาชีพ ออกแบบตามความต้องการของลูกค้า
- ทีมงานคุณภาพมากประสบการณ์ รับออกแบบ-สร้างบ้าน ดีไซน์เฉพาะคุณ
- พร้อมดีไซเนอร์ส่วนตัวให้คำปรึกษาตัวต่อตัว เหมาะกับทุกสไตล์ ห้องนอน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น
บริการของ UREBUILD >> รับรีโนเวท หาช่างรีโนเวท
การรีโนเวทหลังคา
การเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาควรมีการคำนึงถึงความชันของหลังคา ระยะแป หรือ ระยะของโครงสร้างของหลังคา และควรเลือกหลังคาที่มีน้ำหนักเบาหรือเทียบเท่ากับวัสดุเดิมเพื่อไม่เพิ่มภาระให้แก่โครงสร้างเก่า
การรีโนเวทฝ้าเพดาน
การต้องปรับปรุงฝ้าเพดานด้วยการรื้อของเดิมออกเปลี่ยนให้สวยงาม หรือต้องการเปลี่ยนชนิด ซึ่งควรคำนึงถึงเรื่องของความสมบูรณ์ในส่วนของโครงสร้างที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมและตามความต้องการของผู้รีโนเวท
การรีโนเวทผนัง
การตกแต่ง ซ่อมแซม หรือ เปลี่ยนวัสดุในการปิดผิว ต้องนึกถึงข้อจำกัดที่เกิดขึ้นสำหรับการใช้วัสดุต่างๆ และข้อกฏหมายในการต่อเติมปรับปรุงที่เกี่ยวข้อง ตามกฏหมายควบคุมอาคาร
การรีโนเวทพื้นในบ้าน
การปรับปรุงทุกครั้งต้องระวังไม่ให้กระทบต่อโครงสร้างเดิม หากเป็นการเปลี่ยนวัสดุปิดผิวทั่วไปส่วนใหญ่จะไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้าง แต่อาจจะต้องทำการพิจารณาว่าสามารถติดตั้งทับวัสดุเดิมได้เลยหรือไม่ เช่น ติดกระเบื้องยาง พรม เป็นต้น หรือควรรื้อวัสดุเดิมออกก่อนแล้วค่อยติดตั้งวัสดุใหม่ทับ
ซึ่งแต่ละพื้นที่นั้นมีความสำคัญที่ควรต้องคำนึงที่แตกต่างกันออกไป สำหรับคนที่กำลังต้องการรีโนเวทบ้านให้นึกถึงส่วนเหล่านี้ก่อนที่จะเริ่มทำการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งถ้าหากอยากให้บ้านมีความแข็งแรงควรจะเลือกใช้วัสดุที่ดีในการซ่อมแซมเพื่อให้บ้านของคุณมีระยะเวลาอยู่กับคุณยาวนานมากขึ้น
ความแตกต่างระหว่าง การรีโนเวท และ การสร้างบ้านใหม่
การรีโนเวทบ้านใหม่ มีค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้
- วัสดุตกแต่ง วัสดุก่อสร้าง
- งานระบบสาธารณูปโภค ทั้งระบบน้ำ และ ระบบไฟฟ้า (เฉพาะส่วนที่รีโนเวท)
- งานโครงสร้าง (เฉพาะส่วนที่รีโนเวท)
- สถาปัตยกรรม
- ค่าจำกัดปลวก
- ค่าตกแต่งภายใน
งานรื้อถอนใหม่ หรือสร้างบ้านใหม่ มีค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้
- ค่ารื้อถอน
- สถาปัตยกรรม
- วัสดุตกแต่ง วัสดุก่อสร้าง
- โครงสร้างใหม่ โครงสร้างเหล็ก เหล็กสร้างบ้าน
- งานตกแต่งภายใน
- ค่าถมที่ดิน (สำหรับสร้างในที่ดินใหม่)
- งานระบบสาธารณูปโภค ทั้งระบบน้ำ และ ระบบไฟฟ้า
สรุปความแตกต่างระหว่าง “การรีโนเวท” และ “การสร้างบ้านใหม่”
- การสร้างบ้านใหม่มีขั้นตอนการก่อสร้างมากกว่าการรีโนเวทบ้าน เพราะจะต้องทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเก่าออกและต้องวางระบบใหม่ทั้งหมด
- แม้การรีโนเวทบ้านจะมีขั้นตอนที่น้อยกว่า ประหยัดมากกว่า แต่ถ้าหากรีโนเวทบ้านที่เก่าแล้ว ก็ต้องเสียค่าซ่อมแซมบ่อยๆ ซึ่งการสร้างบ้านใหม่อาจจะคุ้มค่ากว่า
6 หลักเปรียบเทียบ รีโนเวทบ้านเก่า หรือ ซื้อบ้านใหม่
การมีบ้านที่สวยงามน่าอยู่เป็นฝันของหลายๆ คน แต่ความรู้สึกจะเป็นอย่างไรเมื่อคุณตื่นขึ้นมาจากความฝันและพบว่าตัวเองอยู่ในบ้านแสนเก่าแถมฟังก์ชั่นหลายอย่างไม่ตอบสนองความต้องการของคุณอีกแล้ว จะเลือกทางไหนดีระหว่างการรีโนเวทบ้านหลังเก่าหรือซื้อบ้านหลังใหม่เอี่ยมเสียเลย ถ้าตัดสินใจยาก บทความนี้มี Tips ช่วยในการตัดสินใจระหว่างสองทางเลือกดังนี้
1. โลเคชั่น
ลองกลับมานั่งทบทวนว่าบ้านหลังปัจจุบันอยู่ในโลเคชั่นที่ทำให้คุณสะดวกสบายทั้งในแง่การเดินทางไปทำงาน เดินทางไปหาครอบครัว หาเพื่อนฝูง เดินทางไปจับจ่ายซื้อของกินของใช้ ไปธุระอื่นๆ หรือเดินทางไปที่ที่คุณต้องไปบ่อยๆ หรือไม่
หรือในทางตรงข้ามบ้านหลังเดิมที่คุณอยู่ไกลจากที่ทำงาน ไม่สะดวกในการเดินทางไปหาครอบครัว ไปหาเพื่อนฝูง ไกลจากซุปเปอร์มาเก็ต หรือไม่สะดวกในการเดินทางไปที่อื่นๆถ้าบ้านหลังเดิมไม่ตอบโจทย์ในเรื่องโลเคชั่น การตัดสินใจซื้อบ้านหลังใหม่ที่อยู่ในโลเคชั่นที่ดีกว่าก็จะได้คะแนนในข้อนี้ไป
2. ความรู้สึกในเรื่องของจิตใจ
หลายๆ คนมีความผูกพัน มีเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตมากมายที่เกิดขึ้นในบ้านหลังปัจจุบัน บ้านที่เป็นมรดกตกทอดมาจากรุ่นพ่อ รุ่นปู่ บ้านที่เลี้ยงดูลูกๆ มาตั้งแต่ยังแบเบาะ ต้นไม้ในสวนที่ปลูกมาตั้งแต่ต้นยังเล็กๆ แต่ตอนนี้สูงใหญ่แข็งแรงให้ร่มเงา
เรื่องอารมณ์ความรู้สึกและประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้หาไม่ได้จากการซื้อบ้านหลังใหม่ “คุณไม่สามารถซื้อภาพความประทับใจในตอนที่คุณเป็นเด็กและอยู่กับพ่อแม่ หรือแม้กระทั่งภาพตัวคุณเองที่เลี้ยงดูลูกของคุณตั้งแต่เขายังเล็กๆ บ้านที่ตกทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น”
3. บ้านเก่าของคุณอยู่ในสภาพแบบไหน
ถ้าโครงสร้างภาพรวมของบ้านหลังเก่ายังดีอยู่ไม่มีปัญหามากนัก การรีโนเวทอาจใช้เงินไม่มากนัก แต่ถ้าบ้านเก่าของคุณมีปัญหามากโดยเฉพาะปัญหาเรื่องโครงสร้าง หรือบ้านต่ำกว่าระดับถนนใหม่มากๆ จนบ้านของคุณเหมือนอยู่ในแอ่ง ค่าใช้จ่ายในการรีโนเวทก็จะสูงตามมา
บ้านบางหลังเก่าแก่ผุผังมากจนเรียกว่าแทบจะต้องรื้อสร้างบ้านใหม่เลยทีเดียวก็เป็นได้ ดังนั้นมูลค่าในการซ่อมบ้านใหม่อาจแพงพอๆ กับซื้อบ้านใหม่เลยทีเดียว
4. งบประมาณ
ถ้าคุณตัดสินใจจะรีโนเวทบ้าน คุณต้องคำนวณถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเพิ่มขึ้นมาอย่างไม่คาดคิด สิ่งที่อยู่นอกแผน อยู่นอกงบประมาณที่ตั้งไว้แต่แรก ผู้รับเหมาหลายคนกล่าวว่าเมื่อเริ่มรีโนเวทบ้านไปเจ้าของบ้านมักมีรายการความต้องการใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ
นั่นทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลาย และพบว่าเจ้าของบ้านส่วนใหญ่จะเป็นแบบนั้น ความฝันต่างๆ ความต้องการต่างๆ ค่อยๆ งอกออกมา เพราะความตื่นเต้น จนสุดท้ายค่าใช้จ่ายอาจจะพอๆ กับซื้อบ้านหลังใหม่เลยที่เดียว ดังนั้นถ้าคิดจะรีโนเวทบ้านอาจวางแผนเป็นขั้นๆ เช่นระยะที่ 1 ปรับปรุงส่วนนี้ ระยะที่ 2 ปรับปรุงอีกส่วน
ทำแผนให้ชัดเจนเพื่อบริหารจัดการงบประมาณไม่ให้บานปลาย รวมทั้งการจัดแผนเป็นช่วงๆ จะทำให้คุณมีเวลาคิดนานขึ้นว่าแผนการปรับปรุงต่อไปมีความจำเป็นจริงหรือไม่ สุดท้ายอาจคิดได้ว่าไม่จำเป็นและสามารถตัดแผนส่วนนั้นออกไปทำให้ประหยัดเงินได้มากขึ้น
5. คิดถึงความต้องการในอนาคต
จะรีโนเวทหรือจะซื้อบ้านใหม่ให้มองถึงความต้องการในอนาคตด้วย เช่นการมีลูก มีสมาชิกในครอบครัวที่เพิ่มขึ้น หรือการสร้างธุรกิจและต้องการใช้บ้านเป็นออฟฟิศด้วย โลเคชั่นเดิมมีโรงเรียนดีๆ ให้ลูกหรือไม่ ถ้าจะทำเป็นออฟฟิศมีที่จอดรถให้ลูกค้าหรือไม่ บ้านเดิมสามารถต่อเติมส่วนที่เป็นออฟฟิศได้หรือไม่
หรือในทางตรงข้ามบ้านหลังเดิมมีพื้นที่ใหญ่โตมากเกินความต้องการและมีค่าใช้จ่ายมากในการดูแลหรือไม่ นอกจากนั้นถ้าตัดสินใจซื้อบ้านใหม่ต้องคิดถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จะตามมาเช่นค่าขนย้าย ค่าส่วนกลางที่อาจแพงกว่าเดิม การขอ น้ำไฟ เป็นต้น
6. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เปรียบเทียบค่าใช้จ่าย
ไม่ว่าจะรีโนเวทหรือซื้อบ้านใหม่ ก่อนอื่นต้องสำรวจงบประมาณที่คุณมีอยู่ อาจลองหาผู้รับเหมาที่ไว้ใจได้ให้ตีราคาถ้าจะรีโนเวทบ้าน ถ้าต้องการซื้อบ้านใหม่อาจปรึกษาธนาคารเรื่องเงินกู้ต่างๆ ราคาประเมินบ้านใหม่ เทียบกับบ้านเก่า
รวมทั้งถ้าคุณต้องขอสินเชื่อเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยระหว่างการซื้อบ้านใหม่กับเงินกู้เพื่อซ่อมบ้านใหม่ ซึ่งผลจากตัวเลขที่ออกมาสามารถเปรียบเทียบได้ชัดเจน
เตรียมตัวก่อนรีโนเวทบ้าน ต้องทำอะไรบ้าง
เมือรู้เรื่องรีโนเวทบ้านแล้ว มาถึงขั้นตอนการเตรียมตัว สำหรับการรีโนเวทบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการรีโนเวทบ้านชั้นเดียวหรือกี่ชั้นก็ตาม ก็มีสิ่งที่ต้องเตรียมตัวคล้าย ๆ กัน และถ้าหากคุณอยากจะรีโนเวทบ้านให้ได้บ้านใหม่ที่มั่นคงแข็งแรง งบประมาณไม่บานปลาย ควรตรวจสอบทุกสิ่งเหล่านี้ให้ดี
1. ตรวจสอบกฎหมายให้ถี่ถ้วนก่อน
ข้อสำคัญที่ควรรู้เรื่องรีโนเวทบ้าน และเป็นข้อที่หลายคนที่จะคิดจะรีโนเวทบ้านมักมองข้ามไป คือการกลับมาทบทวนกฎหมายให้ดีก่อน เนื่องจากการต่อเติมหรือรีโนเวทก็นับเป็นการดัดแปลงอาคาร ดังนั้นควรตรวจสอบก่อนว่าบ้านของเราเข้าเงื่อนไขของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง อะไรที่ห้ามทำเด็ดขาด
โดยหากพิจารณาถึงเงื่อนไขแล้วพบว่า แผนการรีโนเวทของเราเข้าข่ายข้อห้าม ควรปรึกษากับเจ้าหน้าที่โยธาจังหวัดหรือเทศบาลที่สังกัดอยู่ก่อนทำการรีโนเวทบ้าน
2. ถามตัวเองให้ชัดว่าต้องการรีโนเวทเพื่ออะไร
หลายคนมักมีความเข้าใจผิดว่า การรีโนเวทบ้านชั้นเดียวนั้น ใช้งบประมาณน้อยกว่าการซื้อบ้านใหม่ ซึ่งต้องบอกว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกเพียงครึ่งเดียว เนื่องจากการรีโนเวทที่ไม่มีการวางแผนและตั้งโจทย์ให้ชัด มักตามมาด้วยปัญหางบประมาณบานปลาย
ดังนั้นก่อนเริ่มวางแผนการรีโนเวท ควรทบทวนตัวเองอีกครั้งว่า เราต้องการรีโนเวทเพื่ออะไร เพื่อปรับปรุงโครงสร้างบ้าน เพื่อปรับพื้นที่ใช้สอยใหม่ หรือเพื่อบ้านใหม่ในฝัน ซึ่งการตั้งโจทย์ให้ชัด จะทำให้เราสามารถคาดการณ์งบประมาณของการรีโนเวทเบื้องต้นได้
3. ตรวจสอบสภาพบ้านและโครงสร้างปัจจุบัน
หลังจากตอบโจทย์ตัวเองจนแน่ชัดแล้ว ก็มาเริ่มเดินสำรวจสภาพบ้านของเราในปัจจุบันกันก่อน ว่ามีสภาพชำรุดตรงส่วนไหน โครงสร้างหลักของบ้านมีสภาพเป็นอย่างไร และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญควบคู่กันไปด้วย
เนื่องจากอาคารเก่ามักจะมีปัญหาของระบบโครงสร้างที่ซ่อนไว้ ไม่ว่าจะเป็น เหล็กเส้นในเกิดสนิม เสาคานปริแตก หรือ ผนังรับน้ำหนักร้าว เป็นต้น ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้ควรได้รับการปรับปรุงให้แข็งแรงเป็นอันดับแรก
4. ตรวจสอบงานระบบ
หากร่างกายมีเส้นเลือดไว้คอยสูบฉีด บ้านก็มีงานระบบไว้คอยหล่อเลี้ยงเช่นกัน โดยงานระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ และระบบอื่น ๆ คือสิ่งสำคัญที่ห้ามละเลยในการตรวจสอบอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะอาคารเก่าที่มีอายุมากกว่า 10 ปี มักจะมาพร้อมกับระบบที่มีความทรุดโทรม
ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบอุปกรณ์สายไฟและท่อน้ำว่าสภาพเป็นอย่างไร และหากอาคารมีอายุเก่าเกินกว่า 15 ปี การเปลี่ยนระบบใหม่ทั้งหมด อาจจะคุ้มค่ากว่าการต้องทุบเพื่อซ่อมแซมทีละจุด
วิธีตรวจสอบระบบไฟ
จุดที่ต้องตรวจสอบ
วิธีตรวจสอบหรือปรับปรุง
- แผงไฟ
- จุดปล่อยกระแสไฟฟ้า
- หลอดไฟ
- สวิตช์ไฟ
- การเดินสายไฟ
- ติดตั้งได้เหมาะกับการใช้งาน
- ใช้งานได้ดี หรือต้องติดตั้งเต้าเสียบเพิ่ม
- เปลี่ยนหรือติดเพิ่มเติมในบางจุด
- ทุกจุดต้องใช้งานได้ตามปกติ
- เพิ่มเติมในจุดที่อยากใช้ไฟ แต่สายไฟไปไม่ถึง
5. สรุปสิ่งที่ต้องปรับปรุงและวางแผนการรีโนเวท
เมื่อตรวจสอบวัสดุ โครงสร้าง และอุปกรณ์ทุกอย่างภายในบ้านเรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็เริ่มเข้าโหมดการเดินทางสู่บ้านในฝันได้ โดยควรสรุปสิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุง สิ่งที่ต้องทำเพิ่ม และสิ่งที่ต้องรื้อถอนให้ชัดเจน เช่น หากอยากจะทุบผนังเพื่อปรับพื้นที่ใช้สอย ก็ควรเช็กดูให้ดีว่าต้องปรับปรุงซ่อมแซมอะไรบ้าง ซึ่งสำหรับงานรื้อและปรับปรุงโครงสร้าง เพื่อความปลอดภัยในการอยู่อาศัย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด
6. ควรเตรียมงบประมาณเผื่อไว้ 10-30%
รู้เรื่องรีโนเวทบ้านต้องรู้งบประมาณ การรีโนเวทนั้นเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่คาดคิดมากมาย แม้จะมั่นใจว่าเราได้ตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วก็ตาม แต่ก็มักจะเจอปัญหาที่ถูกซ่อนเร้นไว้ ซึ่งลามมาถึงงบประมาณที่กำหนด เพราะฉะนั้นควรเผื่องบประมาณสำหรับปัญหาที่ยังไม่พบประมาณ 10-30% เพื่อป้องกันความล่าช้า ซึ่งจะทำให้งบประมาณบานปลายกว่าเดิม
สรุป
ไม่ว่า รีโนเวทบ้านเก่า หรือ สร้างบ้านใหม่ UREBUILD(ยูรีบิ้ว) มีบริการเซอร์วิส โซลูชันแบบครบวงจร หรือ One Stop Service ที่จะช่วยให้งานรีโนเวท และงานสร้างบ้านเป็นเรื่องง่าย เพราะบริษัทฯ ให้บริการที่ครอบคลุมตั้งแต่ให้คำปรึกษาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ วางแผน ออกแบบ ดำเนินการติดตั้งด้วยทีมช่างที่ชำนาญการและมีประสบการณ์ รวมถึงมีวัสดุก่อสร้างคุณภาพระดับสากล หลากหลาย และครบครัน
เช็คสภาพบ้านปัจจุบัน คือ การตรวจสอบลักษณะบ้านว่ามีสภาพอย่างไร มีบริเวณไหนที่ชำรุดหรือต้องซ่อมแซมบ่อยๆ หากพบจุดชำรุดหรือจุดที่ต้องซ่อมแซมจำนวนมาก หรือ บ้านมีอายุการใช้งานหลายสิบปี ควรสร้างบ้านใหม่จะคุ้มกับการลงทุนมากกว่า แบะไม่เสียเวลารีโนเวทแล้วผลลัพธ์ คือ บ้านมีปัญหาเหมือนเดิม
เช็คพื้นที่ว่างโดยรอบ เพราะว่าการสร้างบ้านใหม่ จำเป็นต้องมีพื้นที่สำหรับงานก่อสร้าง สำหรับบ้านที่มีพื้นที่น้อย แคบ ไม่สะดวก ส่วนใหญ่จะเลือกวิธีการรีโนเวทบ้าน เพื่อปรับบ้านใหม่แทนการสร้างบ้านใหม่ทั้งหลัง
การก่อสร้างแต่ละครั้งใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เราควรรู้วัตถุประสงค์หรือความต้องการที่แท้จริงก่อน ตัวอย่างเช่น ที่อยู่ปัจจุบันเป็นอาคารพาณิชย์ ตึก4ชั้น อย่างจะเปิดธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟ co-working space ร้านอาหาร ร้านขนม เป็นต้น ที่ชั้นล่าง เราก็ไม่จำเป็นต้องรื้อถอนสร้างใหม่ เพียงแค่รีโนเวทแค่ชั้นล่างก็เพียงพอแล้ว
แต่ถ้าหากบ้านเรามีจำนวนห้องน้อย ต้องการสร้างบ้านให้มีจำนวนห้องเพิ่มมากขึ้น เพราะจำนวนสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น การสร้างบ้านใหม่ก็จะคุ้มค่ากว่ามาก และตรงตามวัตถุประสงค์
การสร้างบ้านใหม่มีขั้นตอนในการสร้างมากกว่าแบบต่อเติมบ้านหรือรีโนเวทบ้าน เพราะต้องทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเก่าออกก่อน และต้องวางระบบใหม่ทั้งหมด แต่บางทีก็ถือว่าเป็นการลงทุนระยะยาว
ถึงแม้ว่าการรีโนเวทต่อเติมจะมีขั้นตอนที่น้อยกว่า ประหยัดมากกว่า แต่ถ้าหากรีโนเวทบ้านที่เก่าแล้วก็อาจจะเสียค่าซ่อมแซมบ่อยๆซ้ำๆ ถ้าปัญหามีมาไม่จบ จนน่าเบื่อได้(ถ้ารีโนเวทต่อเติมกับ UREBUILD(ยูรีบิ้ว) ก็จะแก้ปัญหาได้ สบายใจหายห่าง ราคาเหมาะสม)