รีโนเวทตึกแถว เป็นร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านค้า ราคาประหยัด ต่อเติมหน้าบ้าน ตกแต่งหน้าร้าน ทำร้านเล็กๆ สำหรับคนงบน้อย ตกแต่งภายในไม่กี่ชั้น สไตล์ญี่ปุ่น มินิมอล
ผู้ที่กำลังมองหาบ้าน โดยมองหาอาคารพาณิชย์ หรือตึกแถวมือสอง เพื่อจะนำมารีโนเวท ก็จะต้องรู้เรื่องกฎหมายการต่อเติม และรู้วิธีว่าทำอย่างไรเพื่อไม่ให้การรีโนเวทตึกแถวนี้รบกวนและส่งผลกระทบไปสู่เพื่อนบ้าน เพื่อไม่ให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกัน บางรายถึงขั้นมีการฟ้องร้องกันเป็นเรื่องใหญ่โตเลยทีเดียว
ส่วนใหญ่คนที่มีบ้านตึกแถวอาจจะได้มาจากการซื้อเก็บไว้ เพราะมีราคาถูกกว่าบ้านหลังเดี่ยวและส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในทำเลที่ดี เหมาะสำหรับทั้งอยู่อาศัยหรือทำธุรกิจ แต่ว่าเมื่อเป็นบ้านตึกแถวที่ซื้อมาเลย บางอย่างอาจจะไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตหรือสไตล์ที่เจ้าของบ้านชื่นชอบ เจ้าของบ้านหลายคนจึงต้องการรีโนเวทบ้านตึกแถวใหม่
แต่การจะรีโนเวทบ้านตึกแถวก็ใช่ว่าจะทำได้ทันที ยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงไม่ต่างจากการสร้างบ้านใหม่เพียงแต่น้อยกว่า เพื่อที่จะรีโนเวทบ้านอย่างถูกต้อง ปลอดภัย ในบทความนี้เรามาดูกันว่ามีอะไรที่ต้องคำนึงถึงและทำบ้างในการรีโนเวทบ้านตึกแถว
รีโนเวท รับเหมาต่อเติม บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ ตึกแถว กับ UREBUILD
- ออกแบบ NewDesign จากไลฟ์สไตล์ของคุณ สร้างบ้าน รีโนเวทบ้าน ตกแต่งภายใน บริการครบวงจร ดูแลหลังสร้างเสร็จ
- ควบคุมงานโดยสถาปนิก-วิศวกรมืออาชีพ ออกแบบตามความต้องการของลูกค้า
- ทีมงานคุณภาพมากประสบการณ์ รับออกแบบ-สร้างบ้าน ดีไซน์เฉพาะคุณ
- พร้อมดีไซเนอร์ส่วนตัวให้คำปรึกษาตัวต่อตัว เหมาะกับทุกสไตล์ ห้องนอน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น
บริการของ UREBUILD >>
สารบัญ
- รีโนเวทตึกแถว กับ กฎหมายต่อเติมและดัดแปลงอาคาร
- สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อจะ รีโนเวทตึกแถว
- การ “ดัดแปลง” รีโนเวทบ้านตึกแถวที่ไม่ต้องขออนุญาตก่อน
- เคล็ดลับการ รีโนเวทตึกแถวเก่า ในสไตล์ญี่ปุ่นมินิมอล
- การคำนวณงบประมาณก่อน รีโนเวทตึกแถว
- 6ไอเดีย รีโนเวทตึกแถว
- สรุป
รีโนเวทตึกแถว กับ กฎหมายต่อเติมและดัดแปลงอาคาร
เรื่องแรกที่ต้องรู้ก่อนการรีโนเวทตึกแถวเลยคือเรื่องของกฎหมาย โดยถึงแม้เราจะเป็นเจ้าของตึกแถวนั้น ๆ ก็ไม่มีสิทธิ์ต่อเติมหรือดัดแปลงตึกแถวนั้นได้ตามอำเภอใจ เนื่องจากตามบทบัญญัติของกฎหมายควบคุมอาคารได้มีการกำหนดไว้ว่าการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
หากจะทำการดัดแปลงอาคารหรือตึกแถวจริง ๆ จะต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนเสมอ หรือ ต้องแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมกับยื่นแบบแปลน และชื่อของสถาปนิก และวิศวกรที่ออกแบบ หรือควบคุมงานอย่างครบถ้วนให้เจ้าพนักงานทราบพร้อมดำเนินการตามมาตรา 21 และ 39 ทวิ (สามารถอ่านพระราชบัญญัติควบคุมอาคารมาตรา 21 และ ทวิ 39 อย่างละเอียดได้ที่นี่)
โดยทั่วไปเมื่อจะทำการดัดแปลง ต่อเติม อาคารหรือตึกแถวจำเป็นต้องขออนุญาต แต่สำหรับคนที่ทำการต่อเติมเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติการควบคุมอาคารก็มีข้อยกเว้นการกระทำดังต่อไปนี้ที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร และไม่จำเป็นต้องทำการขออนุญาตจากเจ้าพนักงาน ดังนี้
1. การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม เว้นแต่การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
ตัวอย่าง
หากโครงสร้างอาคารตึกแถวมีอาการชำรุด อาทิ พื้นไม้ผุ เป็นต้น และมีการเปลี่ยนพื้นไม้ทั้งหมดใหม่ แต่ใช้วัสดุเแบบเดิม จำนวนเท่าเดิมก็ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร แต่หากเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ คอนกรีตอัดแรง หรือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชำรุดแล้วต้องเปลี่ยนใหม่จำเป็นต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงาน
2. การเปลี่ยนส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร โดยใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิมหรือวัสดุชนิดอื่น ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละ 10
ตัวอย่าง
หากต่อเติมในส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้างอาคาร เช่น พื้น ผนัง เป็นต้น อย่างเช่นการเปลี่ยนพื้นไม้เป็นวัสดุอื่น ๆ อาทิ หินอ่อน ก็ต้องคำนวณน้ำหนักดูด้วยว่าเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเกินร้อยละ 10 หรือไม่ ซึ่งถ้าเกินก็ต้องยื่นขออนุญาตดัดแปลงอาคาร
3. การเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลด หรือการขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละ 10
ตัวอย่าง
หากต้องทำการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ภายในบ้านและไม่ก่อให้เกิดน้ำหนักเพิ่ม อาทิ การเปลี่ยนแบบประตูจากบานประตูธรรมดาเป็นบานเลื่อนกั้นส่วน รูปแบบพื้นที่ในอาคารหรือตึกแถวมีการเปลี่ยนแปลง กรณีนี้ไม่ต้องยื่นขออนุญาต หรือหากการเปลี่ยนอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาบ้าง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักเดิมก็ไม่จำเป็นต้องยื่นขออนุญาตแต่อย่างใด
4. การลดหรือขยายเนื้อที่ของพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งให้มีเนื้อที่น้อยลงหรือมากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน
5. การลดหรือการขยายเนื้อที่ของหลังคาให้มีเนื้อที่มากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน
สรุป 5 กรณีที่ไม่ต้องขออนุญาตต่อเติม
รายละเอียดแบบต่อเติมบ้าน
กรณีที่ไม่ต้องขออนุญาต
- การ “เพิ่ม” หรือ “ลด” เนื้อที่ของพื้นชั้นใดชั้นหนึ่ง
- การ “เพิ่ม” หรือ “ลด” เนื้อที่ของหลังคา
- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร
- การเปลี่ยนแปลงส่วนใด ๆ ภายในบ้าน (ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร)
- การเปลี่ยน ต่อเติม เพิ่ม ลด เนื้อที่ส่วนใด ๆ ในบ้าน
- ไม่เกิน 5 ตร.ม.
- ไม่เกิน 5 ตร.ม.
- ใช้วัสดุ ขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม
- ใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม หรือวัสดุอื่นไม่ได้เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมเกิน 10% ของน้ำหนักเดิม
- ไม่เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเกิน 10% ของน้ำหนักเดิม
รีโนเวทตึกแถว ต้องทำให้ถูกต้องไม่รบกวนเพื่อนบ้าน
แน่นอนว่าการรีโนเวทตึกแถวย่อม มีการต่อเติม ดัดแปลง โครงสร้างต่าง ๆ ของตึกแถวซึ่งมีลักษณะของตัวอาคารชิดติดกันกับอาคารอื่น ๆ ดังนั้นการต่อเติมดัดแปลงตึกแถวโดยไม่ให้มีผลกระทบต่อบ้านหลังอื่น ๆ จึงต้องมีการพูดคุยกับบ้านข้างเรือนเคียงก่อน
เนื่องจากการรีโนเวทนั้นจะส่งผลรบกวนไปสู่เพื่อนบ้านทั้งในแง่ของกลิ่น เสียง และแรงสั่นสะเทือนจากกระทุบหรือต่อเติม
โดยหากทำการรีโนเวทโดยไม่บอกกล่าวเพื่อนบ้าน ปัญหาที่ตามมาอาจถูกเพื่อนบ้านร้องเรียนจนถึงขนาดฟ้องร้องกลายเป็นปัญหาใหญ่เลยก็ได้ ซึ่งการต่อเติมหรือรีโนเวทอาคารตึกแถวต่าง ๆ ก็ต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อป้องกันปัญหาที่ตามมาที่หลัง
หลาย ๆ ครั้งที่ตึกแถวอาคารข้างเคียงบ้านของเรามีการดัดแปลงต่อเติมตึกแถวนิด ๆ หน่อย ๆ อาจมีการอนุโลมกันได้ แต่หากวันใดที่มีปัญหากับบ้านข้างเคียงหากยื่นไม่ได้ขออนุญาตและถูกเพื่อนบ้านฟ้องร้องการต่อเติมอาคารตึกแถวอาจจะต้องถูกระงับหรือรื้อถอนออกเลยก็ได้
สุดท้ายนี้ใครที่อยากหาที่อยู่อาศัยใหม่แต่มีงบประมาณที่จำกัดก็สามารถเลือกหาบ้านมือสองที่ไม่เก่าเกินไปมารีโนเวทได้ ไม่ว่าจะเป็น ตึกแถว บ้านเดี่ยว หรือแม้กระทั่งคอนโดก็ตาม แต่ทั้งนี้เองเรื่องของกฎหมายถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดควรปรับปรุงให้อยู่ในขอบเขต
รวมไปถึงต้องไม่รบกวนเพื่อนบ้านด้วย หากจำเป็นต้องรบกวนจริง ๆ ควรคุยกันให้ดีก่อนลงมือรีโนเวทตึกแถวหรือทาวน์โฮมที่ใช้ผนังบ้านร่วมกัน
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อจะ รีโนเวทตึกแถว
1. คำนึงถึงจุดประสงค์เป็นอย่างแรกว่าต้องการอะไร
สิ่งแรกที่คุณต้องคำนึงถึงในการรีโนเวทบ้านตึกแถว คือ คำนึงถึงจุดประสงค์ว่าต้องการทำอะไรกับตัวอาคาร ต้องการปรับแต่งสไตล์ ต้องการต่อเติม ทุบหรือเจาะกำแพง รื้อโครงสร้างเดิมหรือไม่ เพื่อที่จะได้วางแผนและคำนวณงบประมาณในการรีโนเวท
ตัวอย่างจุดประสงค์ในการรีโนเวทบ้านตึกแถว
- ต้องการปรับเปลี่ยนสไตล์ของบ้านตึกแถวเก่า
- ต้องการเพิ่มพื้นที่ใช้สอย
- ต้องการขยายพื้นที่ให้บ้านดูโปร่งขึ้น
- ต้องการกั้นห้องเพิ่ม
- ต้องการรีโนเวทพื้นที่นอกบ้าน
- ต้องการดัดแปลงบ้านตึกแถวเป็นหน้าร้าน
- ต้องการรีโนเวทบ้านตึกแถวเป็นโรงแรม/ห้องเช่า
การรื้อโครงสร้าง การก่อสร้างต่อเติมบ้านตึกแถว ยังมีเรื่องกฎหมายที่คุณต้องคำนึงถึง การที่กำหนดว่าต้องการทำอะไรกับตัวบ้านบ้างและเขียนออกมาเป็นแผน จะมีประโยชน์มาในการคุยกับผู้ออกแบบ สถาปนิก หรือเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงการทบทวนกฎหมายว่า สิ่งที่ต้องการทำสามารถทำได้หรือไม่
หากคุณแน่ใจกับจุดประสงค์ในการรีโนเวทบ้านตึกแถวแล้ว มาดูข้อต่อไปกัน
2. คำนึงถึงโครงสร้างเก่าและสภาพของบ้าน
ต่อมาหลังจากที่เรารู้แล้วว่า ต้องการรีโนเวทบ้านตึกแถวอย่างไรบ้าง ให้ดูโครงสร้างบ้านและสภาพโดยรวมของบ้านตึกแถว ว่าพร้อมสำหรับการต่อเติม รีโนเวท หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยในการรีโนเวทและการอยู่อาศัย
โดยตรวจสอบบ้านตึกแถวก่อนว่าแข็งแรงดีหรือไม่ มีส่วนไหนของอาคารที่เสื่อมโทรมต้องซ่อมแซมหรือไม่ ส่วนใดของบ้านที่ไม่ควรต่อเติม หากตรวจพบราวร้าวให้ตรวจสอบว่า มาจากสาเหตุใด เพราะอาจเป็นเรื่องของกำแพงหรืออาคารทรุด ซึ่งจะอันตรายอย่างยิ่งและเป็นอุปสรรคต่อการรีโนเวทบ้าน รวมไปถึงการประเมินว่า ระหว่างทุบทำลายแล้วสร้างขึ้นใหม่กับการต่อเติมจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว แบบไหนที่คุ้มค่าน่าทำกว่า
หากคุณต้องการดัดแปลงหรือต่อเติมอาคาร ในขั้นตอนการตรวจสอบอาคารและสภาพบ้านควรจะต้องปรึกษาหรือขอให้ผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญมาช่วยดู เช่น สถาปนิก วิศวกร เป็นต้น ให้มาช่วยดูและประเมินว่า สิ่งที่คุณต้องการรีโนเวท สามารถทำได้หรือไม่
3. การขออนุญาตรีโนเวทบ้านตึกแถว
แม้ว่าเราจะเป็นเจ้าของตึกแถว 100% แต่ก็ใช่ว่าเราจะสามารถต่อเติม รีโนเวทบ้านตึกแถวได้ตามอำเภอใจ เพราะการต่อเติมและดัดแปลงอาคาร มี กฎหมายควบคุมอาคาร ตามมาตรา 21 และ 39 ทวิ กำหนดระเบียบต่างๆ ไว้ เพื่อควบคุมความปลอดภัยและความเป็นระเบียบของบ้านเมือง จึงต้องมีการยื่น คำขอก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร กับเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน พร้อมกับเอกสารประกอบ ได้แก่
- แบบฟอร์มคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร
- แบบแปลน แผนผังบริเวณ และรายการประกอบแบบแปลน จํานวน 5 ชุด
- รายการคํานวณ 1 ชุด (กรณีที่เป็นอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่)
- สําเนาใบประกอบวิชาชีพของสถาปนิกและวิศวกรผู้ออกแบบ (กรณีที่เป็นอาคาร ควบคุมตามกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพ)
- สําเนาโฉนดที่ดิน / น.ส. 3 / ส.ค. 1
- หนังสือแสดงความยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารในที่ดิน (กรณีที่เจ้าของอาคารไม่ ได้เป็นเจ้าของที่ดิน ที่อาคารนั้นตั้งอยู่)
- หนังสือแสดงความยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน (กรณีที่อาคารก่อสร้าง ชิดเขตที่ดิน น้อยกว่า 50 เซนติเมตร) หรือใช้ผนังร่วมกัน
- หนังสือแสดงความเป็นตัวแทนเจ้าของอาคาร (หรือหนังสือมอบอํานาจ กรณีที่ ตัวแทนเจ้าของอาคารเป็นผู้ขออนุญาต)
- สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอํานาจลงชื่อแทน นิติบุคคลผู้ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน
- หนังสือแสดงว่าเป็นผู้จัดการหรือผู้แทนซึ่งเป็นผู้ดําเนินกิจการของนิติบุคคล (กรณีที่นิติบุคคลเป็น ผู้ขออนุญาต)
- เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)
ทั้งนี้ หากฝ่าฝืนหรือไม่ได้ขออนุญาตก่อน จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
การ “ดัดแปลง” รีโนเวทบ้านตึกแถวที่ไม่ต้องขออนุญาตก่อน
- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุที่มีขนาด จํานวน และชนิด เดียวกับของเดิม เว้นแต่การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีต อัดแรงหรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
- การเปลี่ยนส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร โดยใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิมหรือวัสดุชนิดอื่น ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ
- การเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลด หรือการขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ
- การลดหรือขยายเนื้อที่ของพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งให้มีเนื้อที่น้อยลงหรือมากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน
- การลดหรือการขยายเนื้อที่ของหลังคาให้มีเนื้อที่มากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน
4. ข้อจำกัดในการก่อสร้าง/ต่อเติมตึกแถวตามกฎหมาย
การรีโนเวทบ้านตึกแถว ต่อเติม หรือรื้อถอนยังมีข้อจำกัดทางกฎหมายที่เราต้องคำนึงถึงด้วย นั่นคือ หลักเกณฑ์ที่ว่าง ระยะร่นกำแพง แนวอาคาร ความสูงอาคาร ฯลฯ ยกตัวอย่างเช่น
- ระยะห่างระหว่างอาคารสำหรับการต่อเติมบ้านชั้นเดียวหรืออาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร กรณีผนังมีช่องเปิด (เช่น หน้าต่าง ช่องลม ช่องแสง) ต้องเว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียง ไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร และกรณีผนังทึบ ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ยกเว้นเจ้าของพื้นที่ข้างเคียงมีหนังสือยินยอมให้สร้างได้ จึงจะสามารถสร้างชิดเขตแนวที่ดินได้
- ระยะห่างชายคาหรือกันสาด ต้องห่างจากแนวเขตไม่น้อยกว่า 0.5 ม. เท่ากันกับกรณีผนังทึบ
- ระยะห่างสำหรับการต่อเติมระเบียงชั้นบน จะต้องเว้นระยะจากระเบียง จนถึงแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร เท่ากับกรณีต่อเติมผนังที่มีช่องเปิด
- ความกว้างของบันไดและทางเดิน หากเป็นอาคารพักอาศัย บันไดจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร แต่หากดัดแปลงรีโนเวทบ้านตึกแถวเป็นอาคารอยู่อาศัยรวม บันไดจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.20 – 1.50 เมตร ส่วนช่องทางเดินในอาคารอยู่อาศัยจะต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร แต่ถ้าเป็นอาคารอยู่อาศัยรวม อาคารพาณิชย์ อาคารสาธารณะ จะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
ข้อกำหนดการต่อเติมก่อสร้างจะขึ้นอยู่กับประเภทอาคารที่เราจะดัดแปลง และยังมีข้อกำหนดอื่นๆ ที่ต้องทำความเข้าใจก่อนวางแผนรีโนเวท ทั้งนี้ หากปรึกษาหรือจ้างผู้รับเหมาที่มีความเชี่ยวชาญ ทางผู้ออกแบบหรือสถาปนิกจะเป็นคนดูเรื่องนี้ให้ตั้งแต่การออกแบบแปลน
5. คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการรีโนเวทบ้านตึกแถว
มาถึงอีกเรื่องสำคัญที่จะมองข้ามไปไม่ได้ คือ การคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการรีโนเวทบ้านตึกแถว เพราะการรีโนเวทบ้านมีค่าใช้จ่ายหลายประการ เมื่อรวมค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ก็ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่เช่นเดียวกัน
แล้วค่าใช้จ่ายในการรีโนเวทบ้านมีอะไรบ้าง?
ค่าใช้จ่ายในการรีโนเวทบ้านตึกแถวหรือบ้านประเภทอื่นๆ จะมาจากค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นหลัก
- ค่าออกแบบแปลนบ้านโดยสถาปนิก โดยจะมีทั้งค่าสำรวจพื้นที่และบ้านหน้างานและค่าออกแบบซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ 900 บาท ต่อตารางเมตร เป็นต้นไป หรือตามแต่ตกลงกับผู้ออกแบบ
- ค่าผู้รับเหมาหรือค่าช่างในการรีโนเวทบ้าน ควรจะขอให้ผู้รับเหมาหรือช่างประเมินราคาจากแบบแปลนรีโนเวทก่อนว่าเท่าไร ยิ่งมีรายละเอียดงานมาก ค่าจ้างก็ยิ่งสูง
- ค่าเช่าที่อยู่อาศัย (กรณีไม่มีที่อยู่สำรอง) หากต้องการรีโนเวทบ้านทั้งหลัง เจ้าของบ้านอาจต้องย้ายไปอาศัยที่อยู่อื่นๆ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็ไม่ควรมองข้าม หากจำเป็นต้องไปเช่าอาศัย ควรวางแผนและรู้ระยะเวลาที่ต้องเช่าตั้งแต่แรก เพื่อวางแผนการใช้จ่ายให้รัดกุม
ยิ่งคำนวณค่าใช้จ่ายได้ละเอียดเท่าไร คุณก็จะสามารถตั้งงบประมาณได้ตามความเป็นจริงและรัดกุมที่สุด เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เกินงบ อย่างไรก็ตาม ควรเตรียมงบประมาณสำรองสำหรับการรีโนเวทบ้านและสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย เพื่อให้การดำเนินงานราบรื่นและไม่เจอปัญหาเรื่องการเงินที่ทำให้ต้องพักงานก่อสร้าง
6. รีโนเวทบ้านตึกแถว อย่าลืมคำนึงถึงเพื่อนบ้าน
บ้านตึกแถวคืออาคารที่ชิดติดกับอาคารอื่นๆ ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่การรีโนเวทบ้านตึกแถวจะกระทบเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อตัวอาคารหรือในแง่ของเสียงรบกวน ฝุ่นควันจากการก่อสร้าง แรงสั่นสะเทือน ฯลฯ
ก่อนที่จะรีโนเวทบ้านจึงควรพูดถึงสื่อสารกับบ้านตึกแถวที่ติดกันและบ้านใกล้เรือนเคียงให้เข้าใจและขออนุญาตก่อน เพราะหากทำการรีโนเวทบ้านโดยไม่บอกกล่าวเพื่อนบ้านก่อน อาจถูกร้องเรียนไปจนถึงขั้นฟ้องร้องได้
เคล็ดลับการ รีโนเวทตึกแถวเก่า ในสไตล์ญี่ปุ่นมินิมอล
ปัจจุบันการรีโนเวทตึกแถวเก่า อาคารดั้งเดิมได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะตกแต่งดัดแปลงเป็นออฟฟิศ ร้านอาหาร ร้านค้าต่าง ๆ หรือคาเฟ่ ส่วนใหญ่มักจะเน้นการตกแต่งดีไซน์ ให้สวยโดนใจเพื่อเป็นจุดขาย
โดยเฉพาะสไตล์มินิมอล หรือสไตล์มูจิ แบบญี่ปุ่น ที่เน้นความเรียบง่าย โล่งสบาย ดูคลีน เพราะสไตล์นี้นอกจากมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว ยังทำให้บรรยากาศออกมาดูอบอุ่น เป็นกันเอง ผ่อนคลายมาก ๆ ส่วนใหญ่จะเน้นโทนสีเรียบ ๆ ผสมผสานงานไม้เฟอร์นิเจอร์เป็นแบบลอยตัวขนาดพอดี ที่สามารถปรับเคลื่อนย้ายได้ง่าย และเน้นแสงสวย ๆ จากธรรมชาติช่วยเพิ่มความสวยงาม
เรามาดูกันดีกว่าว่า เคล็ดลับการรีโนเวทตึกแถวเก่า ในสไตล์มินิมอล มีอะไรบ้าง
มู้ด & โทน เป็นเรื่องสำคัญ
จุดเด่นของสไตล์มินิมอล คือ การออกแบบดีไซน์โทนสีของตึกแถว หรือบ้านให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เน้นสีสบายตาไม่ฉูดฉาด อย่าง สีขาว สีเทา สีครีม สีโมโนโทน หรือสีแนวเอิร์ธโทนใกล้ชิดธรรมชาติ กลุ่มสีนี้จะช่วยให้บรรยากาศอบอุ่น อารมณ์แบบสบาย ๆ อาจจะสลับกับลายไม้ หรือพื้นผิวไม้จริง เพื่อเพิ่มมิติให้ดูโดดเด่นมากขึ้น
โดดเด่นด้วยการจัดสเปซพื้นที่
นอกจากโทนสีแล้ว การรีโนเวทตึกแถวเก่า ให้ออกมาในสไตล์มินิมอล ต้องเน้นความเรียบง่ายให้เด่นชัดมีสเปซ หรือฟังก์ชันพื้นที่ใช้สอยสำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเหมาะสมลงตัว ปรับพื้นที่ให้โล่งสบายตา
การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์จะเป็นชุดโต๊ะเก้าอี้ดีไซน์แบบธรรมดา เรียบแต่เท่ไม่เหมือนใคร โดยเลือกขนาดที่ไม่เล็กจนเกินไป และไม่ใหญ่จนเกะกะคับห้อง สไตล์มินิมอลจะเน้นไปที่การจัดวางให้มีความสมดุล สะดวกต่อการหยิบใช้งานและจัดเก็บ โดยอาจวางชิดผนังด้านใดด้านหนึ่งอย่างมีสไตล์
ของตกแต่งเรียบเท่ ใช้ประโยชน์หลากหลาย
นอกจากนั้น เสน่ห์ของการตกแต่งสไตล์มินิมอล ยังขึ้นอยู่กับการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ และของแต่งบ้านที่เรียบง่าย แต่ดูมีสไตล์ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ โซฟา ชั้นวางของ กรอบรูป โคมไฟ แจกัน ที่มองดูแล้วเหมือนงานศิลปะ ที่เอามาตกแต่งห้อง และเลือกใช้แต่เพียงน้อยชิ้น แต่ใช้ประโยชน์มาก หรืออาจจะใช้เฟอร์นิเจอร์ Multi-Function ที่มีความหลากหลาย หรือ Build in ตู้เก็บอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เป็นระเบียบ เรียบง่ายสบายตา
รับแสงรับลมจากธรรมชาติ
นอกจากเรียบง่ายแล้ว สิ่งสำคัญคือปลอดโปร่ง การตกแต่งสไตล์มินิมอล ส่วนใหญ่จะเน้นแสงจากธรรมชาติ เข้ามาสร้างบรรยากาศภายในตัวบ้าน การรีโนเวทตึกแถวเก่าสไตล์มินิมอล จึงควรมุ่งเน้นไปที่ทำให้สามารถเปิดรับแสงหรือลมเข้ามา เพื่อให้ความสว่างและช่วยให้อากาศหมุนเวียน ช่วยให้กลายเป็นบ้านประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี หรือหากต้องใช้ไฟฟ้า ควรเลือกใช้หลอดไฟแบบ Warm White ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น หรือใช้ไฟที่สามารถปรับระดับความสว่างของแสงได้
ต้นไม้เชื่อมโยงกับธรรมชาติ
สิ่งที่ทำให้รีโนเวทตึกแถวเก่า ให้เป็นมินิมอลสไตล์แบบแท้จริงนั้น นอกจากเชื่อมโยงกับธรรมชาติด้วยแสงและลมแล้ว ต้นไม้สีเขียว ๆ คือตัวเลือกที่จะขาดไปไม่ได้เลย เพราะผนังแบบคุมโทนสีแนวมินิมอล จะเข้ากันได้ดีกับใบไม้สีเขียวของต้นไม้เป็นอย่างมาก
จะตกแต่งในแจกันใบสวย ๆ หรือกระถางต้นไม้เก๋ ๆ วางไว้ตามมุมห้อง เพื่อความสวยงามและช่วยทำให้ผ่อนคลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ประเภทไม้ใบประดับตกแต่ง หรือกลุ่มต้นไม้ฟอกอากาศยอดนิยม เช่น ต้นเดหลี ต้นยางอินเดีย ต้นมอนสเตอรา
หากไม่มีพื้นที่มากพออาจจะเป็นหลังบ้านที่ควรปรับพื้นที่ให้สามารถจัดสรรได้ดี ก็เป็นอีกหนึ่งไอเดียต่อเติมครัวทาวน์โฮมได้เช่นกัน
การคำนวณงบประมาณก่อน รีโนเวทตึกแถว
การรีโนเวท จำเป็นต้องใช้งบประมาณที่มากพอสมควร เจ้าของอาคารจึงควรคำนวณงบประมาณให้แม่นยำก่อนเริ่มต้นการรีโนเวท เพื่อให้การรีโนเวทอาคารสอดคล้องกับจำนวนงบประมาณที่มีอยู่ วันนี้จึงมีวิธีคำนวณงบประมาณการรีโนเวทอาคารแบบง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน มาให้ท่านลองคำนวณก่อนตัดสินใจรีโนเวท
ค่าใช้จ่ายการรีโนเวทโดยประมาณ
ปรับปรุงให้ใหม่ขึ้น พออยู่ ค่าใช้จ่ายประมาณ 10,000 บาท / ตารางเมตร
รีโนเวทให้สวยงาม Modern, Loft ค่าใช้จ่ายประมาณ 15,000 บาท / ตารางเมตร
รีโนเวทให้สวยงาม Classic, Luxury ค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 บาท / ตารางเมตร
รีโนเวท ปรับฟังก์ชั่นบ้าน พร้อมดีไซน์ ค่าใช้จ่ายประมาณ 25,000 บาท / ตารางเมตร
วิธีคำนวณ
ค่าใช้จ่ายต่อตารางเมตร x ตารางเมตร = งบประมาณ
หากมีความต้องการรีโนเวทอาคาร ให้เริ่มต้นจากการคำนวณคร่าว ๆ ตามวิธีที่ได้นำเสนอ จะได้เป็นยอดงบประมาณที่ต้องใช้ในการรีโนเวท และเจ้าของอาคารควรเตรียมงบประมาณสำรองไว้ด้วย เผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉิน หรือค่าใช้จ่ายการรีโนเวทอาจจะเกินงบประมาณ
6ไอเดีย รีโนเวทตึกแถว
ใครกำลังมองหาไอเดียรีโนเวทตึกแถวอยู่มาทางนี้ เพราะวันนี้เราได้ไปรวบรวม 6 ไอเดียสวย ๆ น่าสนใจมาฝากกัน พร้อมให้คุณนำไปต่อยอด ออกมาเป็นบ้านใหม่ในสไตล์คุณ หยิบไอเดียรีโนเวทตึกแถวสวย ๆ มาฝากคุณถึง 6 ไอเดียด้วยกัน
พร้อมเนรมิตตึกแถวเก่าให้ออกมาใหม่น่าอยู่กันเลยทีเดียว ซึ่งทั้ง 6 ไอเดียที่เรานำมาฝากนี้ก็อาจเป็นเพียงแค่ตัวจุดประกาย ให้คุณนำไปต่อยอดร่วมกับนักออกแบบมือดี เพื่อให้ได้บ้านที่คุณฝัน จะมีสไตล์ไหนให้คุณบ้าง มาดูกันเลย
1. สไตล์เรียบหรูดูดี แบบมีระดับ
มาเริ่มที่สไตล์รีโนเวทตึกแถวแบบแรกกับ สไตล์เรียบหรู ดูมีระดับกันก่อนเลย สำหรับใครที่อยากได้บ้านสวย ๆ เหมือนอยู่บนคอนโดหรู ก็สามารถเนรมิตจากตึกแถวได้เช่นกัน โดยสไตล์นี้อาจต้องเน้นใช้วัสดุคุณภาพดีมีราคา
เลือกใช้สีแบบเรียบ ๆ เช่นสีเทา หรือโรสโกลด์ โดยต้องคำนึงไม่ใช้สีที่ฉูดฉาดจนเกินไป ถ้าจะให้ดีก็ต้องมาพร้อมการจัดแสง เลือกวางหลอดไฟให้ดีด้วยเช่นกัน เพราะช่วยเพิ่มความหรูได้ทันตากันเลยทีเดียว
ส่วนเรื่องเฟอร์นิเจอร์ก็ต้องใส่ใจเลือก โดยอาจดูดีไซน์ที่ล้ำสมัยหน่อย แต่ยังคงเข้ากับแบบบ้านของคุณเป็นอย่างเข้ากัน ส่วนดีเทลเล็ก ๆ น้อย ๆ ภายในบ้านก็สามารถช่วยเพิ่มความหรูได้ ตรงนี้อาจต้องลองซื้อมาใส่ หรือปรึกษากับมัณฑนากรที่ถนัดการแตกห้องสไตล์นี้ควบคู่กันไปด้วย
2. สไตล์วินเทจ คลาสสิกแบบดูดี
สำหรับแบบคลาสสิกวินเทจที่เรานำมาฝาก จะเน้นเป็นการตกแต่งภายในมากกว่าภายนอก อาจลองนำไปปรับใช้กับบ้านของคุณ หรือใช้สำหรับรีโนเวทตึกแถวก็ได้เช่นกัน ซึ่งสไตล์นี้จะเป็นการเน้นซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่มาความเก่า แต่ยังใช้งานได้ดี
โดยเราขอแนะนำว่าถ้าจะแต่งบ้านสไตล์นี้ก็ควรแต่งให้เข้ากันทั้งบ้าน จะออกมาดูดีมากเลยทีเดียว จากของเก่า ๆ ที่ไม่มีใครอยากได้ อาจออกมาสวยเหมือนใหม่ในบ้านของคุณก็เป็นได้
ซึ่งการแต่งบ้านแบบนี้วัสดุพื้นและกำแพงก็สำคัญ ถ้าเป็นไปได้อาจเลือกใช้เป็นพื้นไม้ ส่วนกำแพงก็อาจดูเป็นแบบเปลือยสวยงาม แต่ถ้าจะให้เข้ากันแบบสุด ๆ มองไปทางไหนก็มีความวินเทจต้องทำเป็นกำแพงอิฐ รับประกันว่าสวยงามแน่นอน
3. มินิมอล เรียบ ๆ แบบมีมิติ
ต่อกันด้วยสไตล์ที่สุดฮิตในช่วง 10 ปีให้หลังนี้เลยก็ว่าได้(พ.ศ.255x-256x)กับการรีโนเวทตึกแถวให้ออกมาเป็นสไตล์มินิมอล เรียบ ๆ แต่ดูไม่เบื่อ ซึ่งการออกแบบแนวนี้ก็ตรงตามชื่อเลย เน้นความน้อยแต่มาก เลือกใช้สีเข้ากัน อาจเป็นเอิร์ทโทนผสมกับสีขาว ดูสะอาดสบายตา ใครมาก็ต้องชมว่าบ้านสวยจังแน่นอน
ส่วนภายนอกตึกแถวก็อาจออกแบบให้มีความโมเดิร์นหน่อย ๆ ก็เข้ากัน ส่วนนี้เราขอแนะนำให้ปรึกษากับสถาปนิกมืออาชีพเพิ่มเติม ลองบอกเขาไปว่าเราอยากได้บ้านประมาณไหน จะได้ออกมาถูกใจ อยู่ได้ทุกวันไม่มีเบื่อ
สำหรับความสนุกของการจัดบ้านสไตล์มินิมอลน่าจะเป็นในส่วนของเฟอร์นิเจอร์ ที่มีให้เลือกหลายแบบ และจัดวางได้หลากหลายให้ออกมาสวยในสไตล์ของคุณ
4. สไตล์โมเดิร์น
มาถึงไอเดียที่สี่ กับการรีโนเวทตึกแถวสไตล์โมเดิร์น ซึ่งสไตล์นี้ก็ฮอตฮิตไม่แพ้กับมินิมอลเลย โดยคุณสามารถรีโนเวทให้ออกมาดูโมเดิร์นน่าสนใจได้ทั้งภายนอกและภายใน บ้านโมเดิร์นส่วนใหญ่เมื่อมองจากภายนอกก็มักจะมีความสมส่วน ไม่มีหลังคาแบบทั่วไป และเลือกทาสีเป็นสีขาว หรือไม่สีดำก็มีให้เห็นอยู่เช่นกัน
สำหรับภายในบ้านคุณก็สามารถใส่ไอเดียได้เต็มที่ โดยอาจต้องเลือกสีให้มีความเรียบ ๆ หน่อย อาจเป็นสีขาวสลับกับสีดำ ส่วนเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ก็ต้องดูดีไซน์ที่มีความล้ำ ออกแบบมาให้เข้ากันกับบ้านสไตล์นี้ รับรองว่าออกมาสวยสมใจแน่นอน
5. สไตล์ลอฟท์ สวยดุดัน น่าค้นหา
สไตล์ลอฟท์เป็นอีกหนึ่งแบบบ้านยอดฮิต ที่ไม่ได้นิยมทำกันเฉพาะบ้านเท่านั้น แต่ร้านกาแฟ คาเฟ่ถ่ายรูปสวย ๆ หลายที่ก็มักหยิบการตกแต่งแบบนี้มาใช้เช่นกัน ใครมองหาไอเดียรีโนเวทตึกแถวอยู่ห้ามพลาดเด็ดขาด
ซึ่งสไตล์ลอฟท์ที่ว่านี้จะให้ความสวยแบบดุดัน มีการใช้ปูนเปลือย โชว์ท่อ แต่การแต่งบ้านวิธีนี้ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่าย เพราะอาศัยการเก็บงานที่ละเอียดเพื่อให้ออกมาดูมีความลอฟท์จริง ๆ พอสมควรเลย
ส่วนเรื่องภายใน ก็จะเน้นเฟอร์นิเจอร์ที่มีสีที่ไม่ฉูดฉาดมาก หลาย ๆ ที่จะเน้นเป็นสีดำ สีไม้ วัสดุที่ใช้ก็จะมีความให้กลิ่นอายของโรงงานนิด ๆ มีโครงเหล็ก หรือแผ่นไม้ ให้ออกมาดูดิบเถื่อน แต่ยังคงดูดีอยู่ได้ไม่เบื่อ ใครอยากรีโนเวทบ้านออกมาเป็นสไตล์นี้อาจต้องมองหาดีไซเนอร์ดี ๆ หน่อยจะได้ออกมาสวยตามที่ต้องการ
6. สไตล์ญี่ปุ่น สบายตา มองไม่เบื่อ
มาถึงแบบสุดท้ายกับสไตล์ญี่ปุ่น ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับมินิมอลอยู่พอสมควรเลย แต่อาจเพิ่มด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่มีกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นสักหน่อย หรือไม่ก็ใช้โครงไม้ซี่ ๆ ในการแบ่งห้องก็เป็นไอเดียที่น่าสนใจ เติมความญี่ปุ่นได้ดีไม่แพ้กัน
สำหรับใครที่อยากรีโนเวทตึกแถวเป็นสไตล์ญี่ปุ่นก็อาจต้องขยันหาเฟอร์นิเจอร์ที่เข้ากันสักหน่อย แต่สมัยนี้ก็หาได้ไม่ยากแล้ว เพราะมีร้านขายของมือสองจากญี่ปุ่นเยอะแยะมากมาย พร้อมให้คุณซื้อมาตกแต่งกันแน่นอน
เป็นอย่างไรกันบ้านกับ 6 ไอเดียกันรีโนเวทตึกแถวทั้ง 6 สไตล์ที่เราคัดมาฝากกันในวันนี้ หวังว่าคุณจะพอได้ไอเดียนำไปเล่าให้กับสถาปนิกหรือคนออกแบบให้ฟัง จะได้ช่วยกันดีไซน์ออกมาเป็นบ้านที่สะท้อนตัวตนและสไตล์ของคุณออกมาได้อย่างดี พร้อมเนรมิตตึกแถวเก่า ๆ ให้ดูใหม่น่าอยู่กันอย่างแน่นอน
สรุป
ตึกแถวหรืออาคารเก่า ๆ ที่สร้างมาเป็นเวลานาน อาจจะดูสวยงามคลาสสิก และกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก หลาย ๆ คน ชอบซื้อตึกแถวเก่ามาดัดแปลงรีโนเวทตึกแถวเก่า ให้เป็นโฮมออฟฟิศ ร้านค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านกาแฟ สตูดิโอ ประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือทำเป็นที่อยู่อาศัย ส่วนหนึ่งก็เพราะตึกแถวเก่ามักจะมีราคาที่จับต้องได้ง่ายกว่า ไม่แพงจนเกินไปหากเทียบกับตึกสร้างใหม่
ที่สำคัญตึกแถวเก่าส่วนใหญ่มีโครงสร้างที่แข็งแรง และมักตั้งอยู่ในทำเลที่ดี แต่ก็ต้องยอมรับว่าตึกหรืออาคารเก่า ๆ ก็ต้องเสื่อมโทรมเป็นธรรมดา จึงจำเป็นต้องมีการรีโนเวทตึกแถวเก่าทั้งภายนอกและภายในให้กลับมาสวยงาม ส่วนใครจะชื่นชอบหรือออกแบบแนวไหน ก็ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์รสนิยมของแต่ละคน
ต้องระวังผลกระทบต่อเพื่อนบ้านหรือชุมชน
ไม่ว่าจะเป็นการต่อเติม ดัดแปลงโครงสร้างรีโนเวทอาคารเก่าหรือตึกแถว ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างแน่นอน เพราะตึกแถวมีลักษณะตัวอาคารผนังหรือโครงสร้าง ที่เชื่อมต่อกับตึกแถวของคนอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ควรไปพูดคุยตกลงกับเพื่อนบ้านให้ดีเสียก่อน ไม่อย่างนั้นอาจจะกลายเป็นกรณีถูกร้องเรียน หรือหนักถึงขนาดถูกฟ้องร้อง จนถูกระงับการรีโนเวทกันก็มี หากพูดคุยทำความเข้าใจกันดีแล้ว เช่น
- เวลาการทำงาน ควรกำหนดให้ชัดเจนว่า เริ่มปรับปรุง ต่อเติม ซ่อมแซม ตั้งแต่กี่โมงไปจนถึงถึงกี่โมง เสาร์อาทิตย์ ทำได้หรือเปล่า
- ความปลอดภัยในการก่อสร้าง การรีโนเวทตึกแถวเก่า ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก อาจมีเครื่องไม้เครื่องมือหรือเศษวัสดุต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้
- การขนย้ายวัสดุสิ่งของ บางครั้งการขนย้ายวัสดุ เครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือในการก่อสร้าง อาจจะต้องผ่านถนนของชุมชนที่ใช้งานร่วมกัน หรือต้องผ่านตึกแถวของคนอื่น ๆ ซึ่งอาจจะสร้างความเดือดร้อนต่อการสัญจร
- เสียงรบกวน การก่อสร้างอาจจะสร้างมลภาวะทางเสียงกับเพื่อบ้านใกล้เรือนเคียง ดังนั้น การก่อสร้างต้องควบคุมการกำหนดเวลาการทำงานที่ชัดเจน และปรับปรุงเสร็จตามกำหนดเวลาที่แน่นอน
- ฝุ่นละออง ต้องมีการป้องกันปัญหาฝุ่นละอองจากการก่อสร้างเป็นอย่างดี
- การก่อสร้าง ปรับปรุง ต่อเติม ดัดแปลง เรื่องของกฎหมายเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังอย่างที่สุด ควรศึกษารายละเอียด หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาใด ๆ ตามมา รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดกับเพื่อนบ้านหรือชุมชน ดังนั้น การพูดคุยให้ชัดเจนก่อนลงมือรีโนเวทตึก ที่ใช้ผนังร่วมกันก็จะราบรื่นขึ้นเอง แม้อาจจะส่งผลกระทบบ้าง แต่หากไม่มากก็มีการอนุโลมกันได้