มัณฑนากร ออกแบบตกแต่งภายใน มีหน้าที่อะไรบ้าง

มัณฑนากร ออกแบบตกแต่งภายใน

มัณฑนากร ออกแบบตกแต่งภายใน มีหน้าที่อะไรบ้าง ข้อดีข้อเสีย คุณสมบัติและความจำเป็นของ มัณฑนากร ออกแบบตกแต่งภายใน ความแตกแต่งของสถาปนิกและอินทีเรีย คืออะไร อย่าพลาดต้องอ่าน

มัณฑนากร คือ นัก ออกแบบตกแต่งภายใน พื้นที่ต่างๆ รวมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายในอาคารโดยการนำความรู้และความคิดในด้านศิลปะ การออกแบบ การผลิตและการตลาดมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อทำการก่อสร้างให้สำเร็จสมบูรณ์

ซึ่งมัณฑนากรจะต้องดำเนินงานโดยการกำหนดรายละเอียดของส่วนประกอบ จัดวางแผนผังของแบบ รวมทั้งควบคุมดูแลการทำงานของช่างตกแต่งภายใน ตัวอย่างเช่น ออกแบบตกแต่งพื้นที่ภายในอาคาร บ้านพักอาศัย พื้นที่จัดแสดงสินค้าและนิทรรศการต่างๆ รวมไปถึงการจัดภายในตู้แสดงสินค้าของห้างสรรพสินค้า หรือพื้นที่ภายในยานยนต์ ได้แก่ เรือ หรือเครื่องบินรถโดยสาร เป็นต้น

 

มัณฑนากร ออกแบบตกแต่งภายใน บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ ตึกแถว คอนโด

ออกแบบตกแต่งภายใน บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ ตึกแถว คอนโด โดยอินทีเรียดีไซเนอร์(มัณฑนากร) มืออาชีพ กับ UREBUILD

รับออกแบบงานบิ้วอิน(Built-in) งานออกแบบ 3D รีโนเวท ด้วยทีมออกแบบมืออาชีพที่มีประสบการณ์นานหลายปี อินทีเรียดีไซเนอร์(มัณฑนากร) รับออกแบบตกแต่งภายใน Built-in ผลิตเฟอร์นิเจอร์ Built-in ปรึกษาประเมินราคาฟรี คุมงบตกแต่งได้ไม่บานปลาย รับตกแต่งทุกสไตล์ เช่น แนว Minimal Muji Classic Modern Loft Contemporary luxury ญี่ปุ่นjapanese

  • ควบคุมคุณภาพงานออกแบบและรับเหมาตกแต่งภายในโดยวิศวกรและสถาปนิกให้ออกมาได้คุณภาพเกินมาตรฐาน ฟังก์ชั่นการใช้งานครบครัน
  • มีทีมให้บริการครบวงจร Turnkey รับเหมาตกแต่งครบวงจร
  • ติดต่อทำงบประมาณได้ทันที ปรึกษาฟรี เรามีทีมงานมือาชีพ มากประสบการณ์ บริการประทับใจ
  • ให้บริการ รับเหมาตกแต่งภายใน รับออกแบบและตกแต่งภายใน ที่อยู่อาศัย บ้าน คอนโด ร้านอาหาร สำนักงาน ตกแต่งภายในครบวงจร office interior design ตามแบบไลฟ์สไตล์คุณ
  • รับออกแบบตามงบประมาณ ราคาไม่แพง พร้อมเนรมิตบ้านธรรมดา ให้เป็นบ้านในฝัน โดยทีมช่างที่มากด้วยประสบการณ์ด้านการรับออกแบบภายในบ้าน
  • ใส่ใจทุกรายละเอียดในการทำงาน จริงใจไม่ทิ้งงาน พร้อมให้คำปรึกษา วางแผนร่วมกันกับลูกค้า ประเมินราคาถึงหน้างาน วางแผนงานให้ตั้งแต่ต้นจนจบ

เราเป็นบริษัทที่รับออกแบบและตกแต่งภายในที่พักอาศัยทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาคาร คอนโด โรงแรม รวมถึงงานเฟอร์นิเจอร์ บิวท์อิน และงานก่อสร้าง ด้วยบริการที่ครบ จบในที่เดียว

ออกแบบ ให้คำปรึกษาทุกขั้นตอนมืออาชีพ ดูแลอย่างเป็นกันเอง ตามงบประมาณประสบการณ์นานหลายปี

บริการของ UREBUILD >> รับออกแบบตกแต่งภายใน

 

สารบัญ

 

ลักษณะงานของมัณฑนากร

มัณฑนากร หมายถึง ผู้ที่ทำการคิดและวางแผนการออกแบบตกแต่งภายในอาคาร สถานที่ทำงานหรือบ้านพักอาศัย ซึ่งมัณฑนากรจะต้องทำการดำเนินงานร่วมกับผู้ว่าจ้างในขั้นตอนต่างๆ โดยมีลักษณะงานดังนี้

  1. ทำการจดบันทึกรายละเอียดสำหรับทำการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า เพื่อสร้างความประทับใจและให้เป็นที่สะดุดตามากที่สุด
  2. ทำการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง และคำนวณงบประมาณราคาที่ต้องใช้สำหรับการดำเนินงานออกแบบตกแต่งภายในทั้งหมด โดยจำเป็นต้องคำนึงถึงคุณภาพที่เหมาะสมของวัสดุ เพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยและตรงตามเป้าหมายการใช้งานภายในอาคาร
  3. นำเสนองบประมาณและแบบแผนที่วาด ให้ลูกค้าทำการพิจารณาและแก้ไขดัดแปลงเพิ่มเติม
  4. หลังจากที่แบบได้รับการแก้ไขจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงจะสามารถส่งแบบต่อไปให้กับช่างเพื่อทำการดำเนินงานตามโครงสร้างที่ได้วางแผนไว้ ตัวอย่างเช่น ช่างเชื่อมเหล็ก หรือช่างไม้ เป็นต้น
  5. ทำการดำเนินและประสานงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ รวมไปถึงระบบที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างงานออกแบบตกแต่งภายใน
  6. ให้คำแนะนำและพูดคุยปรึกษากับช่างเกี่ยวกับแบบแผนของงานออกแบบ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานให้ออกมาตรงตามเงื่อนไขสัญญาที่กำหนดไว้

การทำงานของมัณฑนากร

โดยปกติแล้วการทำงานออกแบบของมัณฑนากร จะต้องปฏิบัติงานภายในรวมไปถึงภายนอกสำนักงาน ซึ่งในการดำเนินงานบางครั้งอาจจำเป็นต้องนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาระยุกต์ใช้เพื่อเป็นตัวช่วยสำหรับงานออกแบบตกแต่งภายในอาคารและสถานที่ ให้มีความสะดวกและง่ายดายมากยิ่งขึ้น

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพมัณฑนากร

คุณสมบัติของผู้ที่จะสามารถประกอบอาชีพมัณฑนากร ได้แก่

  1. มีคุณวุฒิการศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการตกแต่งภายใน ระดับปริญญาตรี
  2. มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเป็นเอกลักษณ์ และมีความรอบคอบในการทำงาน
  3. มีความสามารถในการนำวัสดุต่างๆภายในประเทศมาประยุกต์ใช้กับงานออกแบบได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด
  4. มีทักษะในการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสรรค์งานออกแบบ
  5. มีระเบียบวินัยในตนเอง และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการบริการทางธุรกิจ
  6. มีความสามารถในทำงานร่วมกับผู้อื่น สามารถทำงานเป็นทีมได้ รวมทั้งมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน
  7. มีวิสัยทัศน์ และมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาความสามารถและความรู้ของตนเอง
  8. ต้องรู้และศึกษาแหล่งข้อมูลสำหรับการซื้อวัสดุและวัตถุดิบต่างๆ
  9. สามารถออกแบบตกแต่งภายในได้อย่างถูกต้องตามหลักการและตรงตามความต้องการของลูกค้า ทั้งในด้านของความปลอดภัยและงบประมาณราคาที่เหมาะสม

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

โอกาสความก้าวหน้าสำหรับอาชีพมัณฑนากรในภาครัฐบาลนั้น คือจะตำแหน่งจะถูกเลื่อนขั้นขึ้นตามฝีมือและความสามารถของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่สังกัดอยู่ จนอาจเลื่อนได้ถึงตำแหน่งของผู้อำนวยการหากนักมัณฑนากรทำการพัฒนาผลงานได้ดียิ่งขึ้น

ส่วนมัณฑนากรอิสระก็สามารถทำการประกอบธุรกิจส่วนตัว และขยายกิจการให้เติบโตได้มากขึ้นได้เรื่อยๆตามความสามารถ

 

ความแตกต่างระหว่างสถาปนิกและมัณฑนากร

สถาปนิก เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการออกแบบการก่อสร้างทั้งภายนอกและภายในตัวอาคาร ที่จำเป็นต้องพิจารณาการออกแบบโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมรวมทั้งรูปแบบของอาคาร ให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับทิศทางของแดดลมฝน สภาพอากาศ และเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น การออกแบบพื้นที่สัญจร พื้นที่โล่ง พื้นที่ใช้สอย หน้าต่าง ประตู หรือระยะยื่นของชายคา เป็นต้น

ซึ่งถึงแม้ว่าสถาปนิกจะไม่ได้มีหน้าที่ในการออกแบบวางผังเฟอร์นิเจอร์สำหรับการตกแต่งภายในโดยตรง แต่หลักการจัดวางเฟอร์นิเจอร์พื้นฐานก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรเรียนรู้ไว้เพื่อที่จะสามารถทำการวางตำแหน่งของปลั๊กและสวิทช์ไฟต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์กับเฟอร์นิเจอร์และการใช้งานของผู้อยู่อาศัยได้

ส่วนมัณฑนากร เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการออกแบบตกแต่งภายในตัวอาคารต่อจากสถาปนิก โดยจะต้องทำการออกแบบและวางผังสำหรับการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง การเลือกใช้สี การตกแต่งผนัง การเลือกใช้วัสดุปิดผนัง รวมไปถึงการตกแต่งห้องด้วยวัสดุต่างๆให้มีความสวยงาม ได้แก่ การเลือกใช้พรม โคมไฟ ผ้าม่าน ตู้และเคาน์เตอร์

แต่สำหรับในบางกรณีอาจต้องทำการรื้อเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างภายในให้มีความเหมาะสมกับการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ ตัวอย่างเช่น การรื้อฝ้าเพื่อสร้างรูปแบบเล่นระดับ ทำไฟซ่อน หรือรื้อเพื่อสร้างห้องน้ำในรูปแบบใหม่ เป็นต้น การจ้างสถาปนิกให้ทำการออกแบบร่วมกับมัณฑนากรจึงเป็นวิธีที่สามารถลดปัญหา ช่วยให้งานก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ได้ง่ายดาย และรวดเร็วยิ่งขึ้น

ความละเอียดของสเกลงานระหว่างอาชีพมัณฑนากรและสถาปนิก

อาชีพมัณฑนากร เป็นอาชีพที่มีหน้าที่ออกแบบงานตกแต่งภายในโดยการรวบรวมและนำความคิดข้อเสนอต่างๆของลูกค้า มาออกแบบให้ได้ผลงานที่ตรงกับความต้องการและเกิดประโยชน์ใช้สอยสูงสุด จึงเป็นงานที่มีความละเอียดของสเกลงานมากกว่าสถาปนิก

ยิ่งถ้าหากเป็นงานออกแบบตกแต่งภายในบ้านเรือนแล้ว รูปแบบของงานมักจะต้องการความละเอียดอ่อนมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานให้ออกมาได้ตรงกับรสนิยมส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยมากที่สุด

ส่วนอาชีพสถาปนิก เป็นอาชีพที่มีหน้าที่ออกแบบอาคารโดยการสอบจากถามความต้องการ รวมทั้งจุดมุ่งหมายการใช้งานจากนายจ้าง แล้วจึงนำมาออกแบบสร้างสรรค์ผลงานให้ออกมามีความเหมาะสมต่อผู้ใช้อาคารมากที่สุด ซึ่งในการออกแบบสถาปนิกจะต้องพิจารณาทั้งในด้านของประโยชน์ใช้สอย ความสวยงาม และทิศทางของลมแดด

หลังจากนั้นจึงจะทำการนำเสนอผลงานแก่ลูกค้าและนำไปพัฒนาทำแบบก่อสร้างต่อไป ในขั้นตอนสุดท้ายสถาปนิกจะต้องนำแบบขอนุญาติ ที่ประกอบด้วยแบบสถาปัตยกรรมและแบบวิศวกรรมโครงสร้างไปยื่นขออนุญาตปลูกสร้างกับทางราชการ แล้วจึงจะสามารถทำการก่อสร้างได้โดยทำงานร่วมกับทีมวิศวกรที่มีหน้าที่ในการออกแบบและคำนวณสัดส่วนโครงสร้างให้สำหรับงานก่อสร้าง

ในปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลง จนส่งผลให้อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบด้านการเงินที่ต้องนำมาใช้ในการลงทุนก่อสร้าง ผู้ประกอบอาชีพด้านการออกแบบจึงต้องทำการเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เพื่อออกแบบสร้างสรรค์ผลงานให้มีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ หรือของเล่นอุปกรณ์การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

ความต่างระหว่าง จ้างอินทีเรียดีไซน์ และบริษัทรับเหมาก่อสร้าง

ไปดูความแตกต่างระหว่างการจ้างอินทีเรียดีไซน์ กับบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจะมีขอบเขตการทำงาน รวมถึงขั้นตอนกระบวนการประสานงานอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางให้กับคนที่กำลังอยากแต่งบ้านอยู่นั่นเอง

จ้างอินทีเรียดีไซน์ : ออกแบบแต่ไม่ได้รับก่อสร้าง

สำหรับขอบเขตในการจ้างอินทีเรีย จะทำงานในส่วนของการออกแบบภายในโดยเฉพาะ มีเพียงทีมงานออกแบบที่จะคอยประสานงานในลักษณะของ turn-key กับบริษัทอื่น ๆ เช่น บริษัทรับเหมาก่อสร้าง, บริษัทระบบไฟฟ้า-ประปา, เฟอร์นิเจอร์ เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งบางบริษัทก็จะมีการจัดตั้งทีมงานให้พร้อม ทั้งทีมออกแบบภายในและภายนอกอาคาร รวมถึงทีมก่อสร้าง

1. ก่อน จ้างอินทีเรียดีไซน์ : ต้องรู้จักประเภทงานของบริษัท อินทีเรียดีไซน์

  • จ้างอินทีเรียดีไซน์ออกแบบตกแต่งพื้นที่ใช้สอยเพื่อธุรกิจ (Commercial Space) : งานประเภทนี้จะเป็นการออกแบบพื้นที่ในเชิงธุรกิจ อย่าง ร้านอาหาร, ร้านกาแฟ, สำนักงาน และโรงพยาบาล ฯลฯ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยทักษะที่สูง เนื่องจากแต่ละพื้นที่ไม่มีแบบเฉพาะตายตัว ดังนั้น การออกแบบแต่ละครั้งจึงต้องมีการวางกรอบแนวคิด และฟังก์ชันการใช้งานที่แตกต่างอย่างเหมาะสม
  • จ้างอินทีเรียดีไซน์ออกแบบตกแต่งพื้นที่ใช้สอยเพื่ออยู่อาศัย (Residential Space) : ขอบเขตงานในประเภทนี้จะมีบ้านพัก, คอนโด, โรงแรม และรีสอร์ต ฯลฯ ซึ่งค่อนข้างเป็นรูปแบบเฉพาะที่เน้นความละเอียด และออกแบบพื้นที่ใช้สอยเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งนอกจากความสวยงามแล้ว ยังเน้นในเรื่องของสุขอนามัย และความปลอดภัยร่วมด้วย

2. ก่อน จ้างอินทีเรียดีไซน์ : ควรเรียนรู้ระบบและขั้นตอนการทำงาน

  • Presale Process : หรือ ‘Brief’ ซึ่งก็คือ การเข้าไปรับโจทย์จากลูกค้า โดยองค์ประกอบหลักในการทำงานจะเป็นที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ, แนวคิดเบื้องต้นที่ต้องการจากงานออกแบบ, เงื่อนไข-ขอบเขต รวมถึงข้อจำกัดในการออกแบบ และงบประมาณ พร้อมรายละเอียดการส่งมอบงานนั่นเอง
  • Design Development : หลังรับโจทย์ของลูกค้ามาแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการประชุมงานของเหล่าอินทีเรียที่รับผิดชอบ เพื่อหาข้อสรุปแนวความคิด โดยเริ่มจากการค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อดูแนวโน้มความเป็นไปได้ และประมวลผลเพื่อพัฒนาแผนการทำงาน ก่อนจะส่งมอบงานในแต่ละขั้นตอนต่อไป
  • Construction Process : เมื่ออนุมัติแนวคิดต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการของงานก่อสร้าง ซึ่งในส่วนนี้เองที่ทางทีมออกแบบจะต้องประสานงานกับทีมรับเหมาก่อสร้าง เพื่อทำงานร่วมกัน โดยทางทีมออกแบบจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและผู้ตรวจสอบโครงงาน (Design Inspector) มีการเข้าควบคุมดูแล และตรวจสอบคุณภาพของงานเป็นระยะ ๆ ตามข้อตกลงในสัญญาว่าจ้าง

3. ก่อน จ้างอินทีเรียดีไซน์ : อย่าลืมดูอัตราค่าบริการ

  • ค่าออกแบบ : สามารถแบ่งได้ 2 วิธี (ตามมาตรฐาน) คือ ประเมินจากงบประมาณของโครงการ อยู่ในอัตราเฉลี่ยที่ 10- 20% เช่น ถ้างบประมาณก่อสร้างไม่เกิน 20 ล้านบาท ก็จะคิดค่าออกแบบ 10-15% ของงบประมาณ และประเมินตามอัตราส่วนเป็นตารางเมตร โดยส่วนมากบริษัทออกแบบมักจะอ้างอิงราคาจากสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย บวกกับการประเมินราคาจากชั่วโมงการทำงาน (ซึ่งจะค่อนข้างเหมาะกับงานที่มีรูปแบบเฉพาะ เช่น งานที่ต้องปรึกษาพิเศษ สำหรับโครงการที่ไม่ได้เป็นไปตามขั้นตอนการออกแบบทั่วไป)
  • ค่าตรวจแบบ : สำหรับค่าตรวจแบบจะประเมินจากงบประมาณก่อสร้างของแต่ละโครงการ โดยมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5 – 3.0% ของงบก่อสร้าง (ตามสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย)
  • ค่า Loyalty Fee : สำหรับงานออกแบบในลักษณะของ Chain Stores มักจะใช้ในต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งยังไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับในบ้านเรามากนัก
  • ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ : หรือค่าใช้จ่ายหน้างาน นอกเหนือจากในสัญญาจ้าง เช่น ค่าเดินทาง, ค่าส่งเอกสาร, ค่าที่พัก ฯลฯ นั่นเอง

ไม่ได้ จ้างอินทีเรียดีไซน์ : แต่จ้างบริษัทรับเหมาก่อสร้างแทน

ซึ่งปกติแล้ว บริษัทรับเหมาก่อสร้างจะมีกระบวนการทำงานที่แตกต่างไปจากการจ้างอินทีเรียดีไซน์ อย่างเห็นได้ชัด โดยบริษัทประเภทนี้มักคำนึงเรื่องของงบประมาณ แล้วตามมาด้วยประโยชน์ใช้สอย และความสวยงาม เนื่องจากการก่อสร้างแต่ละครั้งย่อมหมายถึง ‘จำนวนเงิน’ ทั้งวัสดุ, โครงสร้าง และอื่น ๆ มากมาย หากคำนวพลาดไปผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนนั้นเอง (ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา)

1. หัวใจของการบริหารงานรับเหมาก่อสร้าง : ต่างจากการ จ้างอินทีเรียดีไซน์
ในทุก ๆ ครั้งของการทำงาน บริษัทรับเหมาก่อสร้างจะต้องมีการจัดทำ ‘แผนงานก่อสร้าง’ ซึ่งขึ้นอยู่กับความละเอียดของแผนงานก่อสร้าง หรือที่เรียกว่า Work Breakdown Structure , WBS เพื่อให้การประเมิน หรือคาดการณ์สิ่งที่จะต้องเตรียมไว้เป็นไปตามแผน ทั้งเรื่องวัสดุ, คนงาน, ทีมช่าง, การจ้างผู้รับเหมารายย่อย

2. ปัญหาในงานรับเหมาก่อสร้าง : ต่างจากการ จ้างอินทีเรียดีไซน์
โดยปัญหาหลัก ๆ จะอยู่ที่การประสานงานในแต่ละส่วน อาทิ เจ้าของโครงการ, ทีมออกแบบ, วิศวกร, โฟร์แมน, หัวหน้าคนงาน, คนงาน และยังมีปัญหาเกี่ยวกับบุคคลภายนอกที่ต้องไม่ค่อยเข้าใจระบบการทำงาน อย่าง ผู้รับเหมารายย่อย, Supplier, สถานที่ราชการต่าง ๆ อีกด้วย

3. ความปลอดภัยในงานรับเหมาก่อสร้าง
แน่นอนว่า เราต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยส่วนบุคคลมาเป็นอับดับหนึ่ง ทุกคนที่ทำงานต้องใส่เครื่องป้องกัน เช่น หมวก, รองเท้า และงดการดื่มเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด รวมถึงความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักรต่าง ๆ ซึ่งทุกอย่างต้องมีมาตรการที่ชัดเจน และควรมีการแบ่งเขตชัดเจน ระหว่างบริเวณที่พักอาศัย กับที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ พร้อมจัดให้มีหน่วยงานปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บฉุกเฉิน

4. การเลือกบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ต่างจากการ จ้างอินทีเรียดีไซน์
โดยสิ่งแรกที่ควรพิจารณา ก็คือ ผลงานของบริษัทนั้น ๆ พร้อมศึกษาข้อมูลบริษัทว่ามีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง หรือมีทีมงานที่น่าเชื่อถือหรือไม่ ซึ่งบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ดีนั้น จะต้องมีทีมงานด้านต่าง ๆ ครบถ้วนทั้งวิศวกร , สถาปนิก , งานระบบ ฯลฯ เพื่อแสดงออกถึงความเป็นมืออาชีพในสายงาน ลดปัญหาเรื่องงานล่าช้า หรือควบคุมคุณภาพได้ไม่ดีพอ

และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ “เรื่องของสัญญาว่าจ้างที่ไม่เอาเปรียบ” ควรพิจารณาให้ดีว่าในสัญญาต้องแบ่งจ่ายกี่งวด รวมถึงแต่ละงวด จะต้องได้ปริมาณงานที่เหมาะสมกัยเงินที่จ่าย

โดยเราอาจลองเปรียบเทียบราคาอย่างน้อย 3 เจ้า เพื่อหาตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง แต่ทั้งนี้ บริษัทที่เสนอราคาต่ำสุด อาจไม่ได้หมายความว่าจะน่าเลือกที่สุดเสมอไป ซึ่งเราสามารถดูราคาแยกย่อยเป็นรายหมวดใน BOQ เพื่อความถูกต้องอีกรอบได้

อินทีเรีย ดีไซเนอร์ กับ มัณฑนากร ออกแบบตกแต่งภายใน

อะไรคือ Interior Designer?

Interior Designer แปลตรงตัวได้ว่า นักออกแบบตกแต่งภายใน หรือเราอาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามัณฑนากรก็ได้ คำทั้งสองคำนี้มีความหมายเหมือนกัน

จำเป็นต้องมีนักออกแบบตกแต่งภายในหรือไม่?

อันที่จริงแล้ว งานตกแต่งภายใน ไม่แตกต่างอะไรไปจากการทำอาหารที่ทุกคนสามารถทำกันเองได้ เพียงแต่ว่านักออกแบบตกแต่งภายในก็เหมือนพ่อครัว ที่จะสามารถทำอาหารได้อร่อย และรวดเร็ว ซึ่งคุณสามารถ เลือกทานได้โดยไม่จำเป็นต้องไปหัดทำให้เสียเวลาและเหน็ดเหนื่อยโดยไม่จำเป็นนักออกแบบตกแต่ง

ภายในที่ดี มักจะออกแบบและเขียนแบบรายละเอียด ให้คุณสามารถใช้เป็นเสมือนเข็มทิศ ในการตกแต่งบ้านคุณให้ประสพความสำเร็จตามความประสงค์ได้เป็นอย่างดี การตกแต่งบ้านโดยปราศจากแบบหรือนักออกแบบตกแต่งภายในแล้ว เปรียบเสมือนการเดินท่องป่าโดยไร้แผนที่และเข็มทิศเลยทีเดียว

หากจะว่าไปแล้ว ประโยชน์ของการว่าจ้างนักออกแบบตกแต่งภายในมืออาชีพ เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ลูกค้าจะลงมือออกแบบและทำเองนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 5 ข้อใหญ่ดังต่อไปนี้

1. ประหยัดเวลา

นักออกแบบตกแต่งภายในมืออาชีพมักจะมีประสพการณ์ และวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ทำให้งานที่ยากกลับกลายเป็นง่ายและรวดเร็ว ทำให้ลูกค้าประหยัดเวลาที่ต้องทุ่มเทให้กับงานตกแต่งนี้ไปทำงานประจำของตนเอง ที่สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำได้มากกว่า

2. ประหยัดค่าใช้จ่าย

บางครั้ง อาจดูเหมือนว่าการว่าจ้างนักออกแบบตกแต่งภายในนั้นเป็นเรื่องฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็น แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากคุณต้องการตกแต่งภายในที่มีมูลค่าโครงการ ตั้งแต่ 5 แสนบาทขึ้นไป การใช้บริการของนักออกแบบตกแต่งภายใน จะช่วยคุณประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นต่างๆ ได้มากเลยทีเดียว

นอกจากนี้ นักออกแบบตกแต่งภายในที่ดียังสามารถให้คำแนะนำในการเลือกซื้อสินค้า หรือของประดับตกแต่งต่างๆที่ได้มาตราฐาน และหลีกเลี่ยงสินค้าที่มีคุณภาพต่ำ หรือมีอายุการใช้งานน้อย ซึ่งเป็นการลดค่าเสียหายจากการลองผิดลองถูกต่างๆ ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งนักออกแบบที่มีประสบการณ์ การทำงานสูงๆจะสามารถแนะนำให้ลูกค้าหลีกเลี่ยงจากผู้รับเหมา ที่ดูไม่มั่นคงหรือมีแนวโน้มจะทิ้งงาน อันจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากกับลูกค้าในภายหลังได้อีกด้วย

3. ตรงตามประโยชน์ใช้สอย

การจัดแบ่งพื้นที่หรือวางผังนั้น จำเป็นต้องใช้นักออกแบบที่มีประสพการณ์พอสมควร จึงจะสามารถ แบ่งพื้นที่ใช้สอยให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า และมีความสวยงามไปพร้อมๆ กัน บ่อยครั้งที่ลูกค้าแบ่งพื้นที่เองแล้วไม่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น เล็กเกินไป หรือใหญ่เกินไป

ตลอดจนอาจมีลำดับการใช้งานที่ไม่ถูกต้องทำให้ลูกค้าไม่สามารถ ใช้งานได้สะดวกทั้งๆ ที่ได้เสียเงินไปแล้วการใช้บริการของนักออกแบบ ที่มีประสบการณ์จะมีประโยชน์และแก้ปัญหาในด้านการจัดแบ่งพื้นที่ ได้มากเลยทีเดียว

4. สวยงาม

นักออกแบบตกแต่งภายในส่วนใหญ่ มักจะมีความสามารถพิเศษ ในการสร้างผลงานออกแบบได้สวยงามอย่างที่คุณคาดไม่ถึง และนักออกแบบบางรายก็จะมีหนังสืออ้างอิงที่ดีๆ ให้ลูกค้าอ่านและดู เพื่อสร้างเสริมจินตนาการของตนได้เป็นอย่างดี

5. เป็นที่ปรึกษาที่ดีในงานตกแต่งภายใน

บ่อยครั้ง ที่ลูกค้าที่ ทำการตกแต่งภายในเองมักจะมีปัญหาจุกจิกต่างๆที่ไม่รู้ว่าจะถามหรือปรึกษากับใคร รวมทั้ง การทำงานตกแต่งบ้านมักจะมีขั้นตอนมากมาย (หากคุณต้องการให้บ้านออกมาสวย) และกลายเป็นปัญหาใหญ่ๆ ได้ง่ายๆ ทำให้ลูกค้าหลายท่านที่ทำบ้านเอง ถึงกับถอดใจหรือตั้งใจว่าจะไม่สร้างบ้านหรือตกแต่งบ้านเองอีกเลย

ดังนั้น การว่าจ้างนักออกแบบตกแต่งภายในมืออาชีพนั้น เป็นทางเลือกที่ดี โดยลูกค้าจะขอคำปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือได้ตลอดเวลา รวมทั้งในกรณีที่ลูกค้า หมดกำลังใจหรือท้อแท้ นักออกแบบตกแต่งภายในจะกลายเป็นผู้ให้กำลังใจที่ยอดเยี่ยมเลยทีเดียว

ซึ่งหากพิจารณาดูตามสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันแล้ว ลูกค้าจำนวนมากหันมาว่าจ้างนักออกแบบตกแต่งภายใน เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจำเป็น และมีประโยชน์ (โดยเฉพาะใน กรณีที่คุณมีงบประมาณมากๆ และไม่ต้องการ โดนใครหลอก)

ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างนักออกแบบ ตกแต่งภายใน จะมีราคาถูกมากเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นพร้อมทั้งปัญหาไร้สาระต่างๆ มากมายที่จะระดมเข้ามาทำให้คุณปวดหัวไม่สิ้นสุด ซึ่งเมื่อแลกกับจำนวนเงินค่าจ้างนักออกแบบตกแต่งภายในที่ไม่สูงมากแล้ว จัดว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากเลยทีเดียว

 

สรุป

อันดับแรกเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าทั้ง สถาปนิก (Architect) และ มัณฑนากร (Interior Designer) ทำงานเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

หน้าที่หลักของ สถาปนิก (Architect) คือ การทำงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายนอก (Exterior) เช่น ตัวบ้าน อาคาร รวมไปถึงห้างสรรพสินค้า โรงแรมทั้งเล็กและใหญ่ ไปจนถึงสนามบิน สิ่งก่อสร้างที่มีผู้คนเข้าไปใช้งาน แต่จะเน้นการใช้สอยพื้นที่ โครงสร้าง ฐานราก วัสดุกรุอาคาร งานระบบต่างๆ เช่น งานไฟฟ้า งานประปา เป็นต้น

ส่วนมัณฑนากร หรือ สถาปนิกออกแบบภายใน (Interior Design Architect / Interior Designer) ทำงานในส่วนออกแบบตกแต่งภายในบ้าน อาคาร สำนักงาน โรงแรม เรียกง่ายๆว่าออกแบบพื้นที่ทุกอย่างที่อยู่ภายในตึก เน้นใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ (งาน detail ต่างๆ) เช่น ลวดลายคิ้วบัว ลายลูกฟักบนประตู เป็นต้น ซึ่งถือเป็นงานที่มีสเกลเล็กกว่างานออกแบบภายนอก

ดังนั้นในความเป็นจริงทั้งสองสายงานก็ไม่ได้แยกกันทำงานซะทีเดียว เพราะในการออกแบบแต่ละอย่างก็ต้องคำนึงถึงพื้นที่การใช้สอยและความงามเป็นหลัก เพียงแต่มันมีเรื่อง “สเกล” เป็นตัวกำกับอยู่เท่านั้นเอง

แต่ในกระบวนการการศึกษาที่แบ่งแยกแขนง ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายใส่ใจและสนใจในรายละเอียดที่ต่างกัน สถาปนิกจะโฟกัสในเรื่องโครงสร้างอาคาร ส่วนมัณฑนากรจะเข้ามาเติมเต็มอาคารนั้นๆ ให้สมบูรณ์มากขึ้นขึ้นด้วยการตกแต่งภายใน ให้มีดีเทลครบถ้วนสวยงาม

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมัณฑนากร จะทำงานสถาปัตยกรรมภายนอกไม่ได้ เพราะในการก่อสร้างงานสถาปัตยกรรม ต้องมีการเซ็นต์แบบจากสถาปนิกและวิศวกร แต่หากเป็นมัณฑนากรที่มีการเรียนเพิ่มเพื่อสอบใบรับรองวิชาชีพสถาปนิก ก็สามารถทำได้

ดังนั้นกล่าวโดยสรุป ความแตกต่างระหว่าง สถาปนิก และ มัณฑนากร คือ

โดยทั่วไป สถาปนิกและมัณฑนากรจะทำงานร่วมกัน สถาปนิกจะมีหน้าที่ในการออกแบบการก่อสร้างทั้งภายนอกและภายในตัวอาคาร การออกแบบจะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมรวมทั้งรูปแบบของอาคาร ให้มีความสอดคล้องเหมาะสมและเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดส่วนมัณฑนากร หรืองานออกแบบอินทีเรียร์ มีหน้าที่ในการออกแบบตกแต่งภายใน เช่น ออกแบบตกแต่งภายในตัวอาคาร หรือสถานประกอบการต่าง ๆ ต่อจากสถาปนิก

ความแตกต่างระหว่างมัณฑนากร และสถาปนิก ก็คือ การทำงานของมัณฑนากรจะเป็นงานออกแบบที่มีความละเอียดมากกว่า เพราะเป็นการรวบรวมความคิดเห็นข้อเสนอต่าง ๆของลูกค้า มาออกแบบให้ได้ผลงานที่ตรงกับความต้องการ สอดคล้องกับรสนิยมความชื่นชอบและเกิดประโยชน์ใช้สอยสูงสุด ตัวอย่างเช่น การเลือกใช้สีตกแต่งผนัง การเลือกใช้วัสดุปิดผนัง การเลือกวัสดุตกแต่ง การเลือกรูปแบบของโคมไฟ ผ้าม่าน หรือพรมปูพื้น ให้สวยงามเหมาะสม ส่วนสถาปนิก เน้นงานออกแบบโครงสร้างภายนอก ภาพรวมต่างๆ นั่นเอง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!